การบริหารความเสี่ยงในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์เคมีภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปรียากมล เอื้องอ้าย ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เวทยา ใฝ่ใจดี ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์, เคมีภัณฑ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยง ประเมินระดับความเสี่ยง และพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยงในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์เคมีภัณฑ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบกรณีศึกษาเดี่ยว เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์เคมีภัณฑ์มีทั้งหมด 49 ความเสี่ยง ซึ่งมีความเสี่ยงระดับสูง 3 ความเสี่ยงที่จําเป็นอย่างยิ่งจะต้องจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงนํามาสู่การพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้ 1) ความเสี่ยงการยืนยันคําสั่งซื้อของลูกค้าล่าช้า จัดการด้วยการกําหนดและสื่อสารกรอบเวลายืนยันคําสั่งซื้อให้ชัดเจน 2) ความเสี่ยงการจัดซื้อสินค้าไม่มีคุณภาพ จัดการด้วยการจัดหาผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดหาสินค้าที่มีคุณภาพ และ 3) ความเสี่ยงการจัดส่งสินค้าล่าช้า จัดการด้วยการปรับเวลาโหลดสินค้าของรถขนส่งให้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในกรณีศึกษาธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์เคมีภัณฑ์ที่อยู่ในระดับปานกลางจํานวน 42 ความเสี่ยงและระดับต่ําจํานวน 4 ความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ควรมีแนวทางในการจัดการในลําดับถัดไปเพื่อลดโอกาสและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กร

References

กาญจน์สิตา โฆสิตธัญญสิทธิ์ และชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2559, มิถุนายน). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 11(1), 139-157.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ และนิยดา สวัสดิ์พงษ์. (2558, พฤษภาคม-มิถุนายน). การจัดการความเสี่ยงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรของหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาและบริการวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 40-49.

เฉลิมพล พุ่มพวง และฐิติมา วงศ์อินตา. (2562, มกราคม-กุมภาพันธ์). การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในโซ่อุปทานปลาสวยงามของจังหวัดราชบุรี. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(1), 679-697.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 191-200.

ณภัทร ทิพย์ศรี, ธนีนุช เร็วการ, จารุวรรณ ด้งพุก, จันทร์จิรา สุวรรณ และพรรณนภา หลวงเรื่อง. (2559, มกราคม-มิถุนายน). กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ที่มีต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย. วารสารราชมงคลล้านนา, 4(1), 102-108.

ทรงยศ กิจธรรมเกษร และสถาพร โอภาสานนท์. (2557, กรกฎาคม-กันยายน). การจัดสรรงานของผู้ห้บริการโลจิสติกส์ด้วยต้นทุนต่ำภายใต้ความไม่แน่นอน.จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 73-97.

ปฐมพงษ์ หอมศรี, เลิศเลขา ศรีรัตนะ และกฤษดา พิศลยบุตร. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). การวิเคราะห์ความเสี่ยงโซ่อุปทานโดยชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาโรงงานฉีดพลาสติก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 16(2), 173-184.

ประจักษ์ พรมงาม, ศักดิ์ กองสุวรรรณ และเชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ. (2559, กันยายน-ธันวาคม). แนวทางพัฒนาลดความล่าช้าในการขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์ผงกรณีศึกษา บริษัท มีนาทรานสปอร์ต จำกัด. วารสารชุมชนวิจัย, 10(3), 117-127.

ปรียาวดี ผลเอนก, ทิพย์วิมล ทองนันไชย และสิริพร กนกเพ็ช. (2561). การออกแบบเกณฑ์การประเมินและจัดอันดับซัพพลายเออร์ถุงบรรจุภัณฑ์อาหารสัตว์น้ำในมิติด้านคุณภาพของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำ ABC ในภาคกลาง. วารสารการบริหารและ

จัดการ, 8(1), 51-68.เพ็ญพิภัทร สินธุพันธ์. (2558).การประเมินการจัดการความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วราภรณ์ วงค์ตาขี่ และวัลนิกา ฉลากบาง. (2562). การบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(2), 191-200.

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และปรียากมล เอื้องอ้าย. (2562). แนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจำลอง SCOR กรณีศึกษา บริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 89-102.

วิโรจน์ ตันติภัทโร. (2553). การคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นกรอบล้อมข้อมูล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์, 2(4), 1-16.

แววมยุรา คำสุข. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(2), 123-142.

ศิริพร อนุสภา. (2562). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง:รูปแบบของผู้นำในคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(30), 228-244.

สมชาย พัวจินดาเนตร และศิริวรรณ เหมือนแก้ว. (2556). การปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานภายในธุรกิจการผลิตกระดาษ.วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 24(1),50-57.

สมาน อัศวภูมิ. (2561). ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง.วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 2(3), 1-11.

สุภลัคน์ จงรักษ์. (2562). การบริหารความเสี่ยง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 155-164.

APICS. (2017).SCOR Supply Chain Operations Reference (Edition 12).Version 12.0.Chicago:n.p.

de la Rosa, C. B., Cárdenas Bolaños, B., Cárdenas Echeverría, H. and Cabezas Padilla. R. (2019). PESTEL analysis with neutrosophic cognitive maps to determine the factors that affect rural sustainability. Case Study of the South-Eastern plain of the province of Pinar del Río. Neutrosophic Sets and Systems. 27(19), 217-227.

Huang, S.H., Sheoran, S.K.andKeskar, H. (2005).ComputerAssisted Supply Chain Configuration Based on Supply Chain Operations Reference(SCOR) Model.Computers & Industrial Engineering, 48(2), 377-394.

Ortega, R. G., Rodríguez, M. D. O., Vázquez, M. L., Ricardo, J. E., Figueiredo, J. A. S. and Smarandache, F. (2019). Pestel analysis based on neutrosophic cognitive maps and neutrosophic numbers for the sinos river basin management. Neutrosophic Sets and Systems. 26(16), 104-113.

Zhou, H., Benton Jr, W. C., Schilling, D. A. and Milligan, G. W. (2011). Supply Chain Integration and The SCOR Model. Journal of Business Logistics, 32(4), 332-344.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09