การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกผ่านสื่อสังคมของวัดมิ่งเมืองมูล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, สื่อธรรมะ, สื่อสังคม, วัดมิ่งเมืองมูลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) น าเสนอหลักธรรมในพระพุทธศาสนาผ่านสื่อสังคมของวัดมิ่งเมืองมูล ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 10 คน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจ านวน 30 คน โดยเก็บข้อมูล 3 ประเภท คือ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาความมีปฏิสัมพันธ์ต่อสื่อธรรมะ และแบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อธรรมะที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์และเขียนเนื้อหา ขั้นบันทึกและตัดต่อขั้นโพสต์และแบ่งปัน ขั้นติดตามผลและประเมินผล ซึ่งจำแนกได้เป็น 16 กิจกรรม 2. คุณภาพหลักธรรมที่นำเสนอผ่านสื่อธรรมะในแต่ละคลิปวิดีโอพบว่าที่ได้รับผลประเมินความพึงพอใจสูงสุด คือ เรื่องพรปีใหม่ มีผลประเมินอยู่ระดับมากที่สุด ส่วนประสิทธิภาพของสื่อธรรมะประเภทคลิปวิดีโอ พบว่า ปัจจัยที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ ความน่าเชื่อถือมีผลประเมินอยู่ระดับมากที่สุด ส่วนประสิทธิภาพของสื่อธรรมะประเภทอีบุ๊ก พบว่า ปัจจัยที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ
ความน่าเชื่อถือ มีผลประเมินอยู่ระดับมากที่สุด จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ เมื่อได้ประเมินผลทั้งสามส่วน พบว่า ผลประเมินทุกส่วนอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์. (2559). หนังสือที่ระลึกในงานพิธีถวายผ้ากฐินประจำปี 2559. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แม็ทซ์พริ้นติ้ง.
กฤษฎา สว่างงาม และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2557). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการสื่อสารภายในของศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 483 - 493.
ขวัญดิน สิงห์คำ. (2556). บูรณาการ วัด บ้าน โรงเรียนศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(1), 21 - 32.
ณรงค์ เส็งประชา. (2539). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ทักษ์อักษร.
ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2558). การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(2), 68 - 78.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559). ศิลปะแห่งการเตือนตนต้อนรับปีใหม่. วารสาร มจรพุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(1), 1 - 4.
พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี และศศิวิมล แรงสิงห์. (2562). บทบาทและความสำคัญของวัดมิ่งเมืองมูล : ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน.วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 151 - 164.
พระศรัญพัฒน์ (ชยจิตฺโต) แสงอุทัย และวันพิชิต ศรีสุข.(2562). รูปแบบและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียของสํานักสงฆ์จันทรัตนารามตําบลยะรม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสารสจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 32 - 39.
ยุรนันท์ ตามกาล. (2557). บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว. วารสาร HR intelligence, 9(1), 12 - 31.
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1), 104–113.
วฒนพงษ์ นิ่มสุวรรณ และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2556). แนวคิดการใช้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊ค และทัศนคติ แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกดปุ่ม "ถูกใจ" ให้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊คของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี,7(1), 38 - 67.
วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 - 132.
สามารถ รอดสันเทียะ , ประมาณ เทพสงเคราะห์ , สืบพงศ์ ธรรมชาติ และอุทิศ สังขรัตน์. (2559). วัฒนธรรมไทยที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกำแพงเพชรอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 97 – 117