การประยุกต์ใช้หลักการคิดเชิงออกแบบกับธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่: รูปแบบและกรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธีทัต ตรีศิริโชติ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กฤษดา เชียรวัฒนสุข สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

สตาร์ทอัพ, การคิดเชิงออกแบบ, ปัจจัยความสําเร็จ

บทคัดย่อ

          ธุรกิจเกิดใหม่หรือสตาร์ทอัพที่จัดตั้งขึ้นด้วยบุคลากรและทรัพยากรจํานวนน้อย มีการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยธุรกิจเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เช่น เกิดจากแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาและเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีคนทํามาก่อน ทําให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ขยายกิจการได้ง่าย และได้รับการยอมรับถึงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ ปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประสบความสําเร็จประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น จังหวะเวลา ทีมงาน แนวความคิดใหม่ แผนธุรกิจและเงินทุน ตลอดจนการให้ความสําคัญกับปัจจัยด้านใดเป็นอันดับแรก ในการสร้างธุรกิจเกิดใหม่สามารถนํากระบวนการคิดเชิงออกแบบ ทั้ง 5 ขั้นตอน ไปประยุกต์ใช้โดยจะต้องพุ่งเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคโดยตรงเช่นการเข้าถึงข้อมูลและพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้า รวมถึงการสร้างความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์การให้กลายเป็นวัฒนธรรมภายในองค์การ ทําให้องค์การมีทีมงานที่อยากเติบโตและมีความท้าทายในการร่วมกันผลักดันความสําเร็จ มีการเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดร่วมกัน เมื่อสามารถสร้างธุรกิจมาถึงจุดนี้แล้ว สิ่งที่ต้องทําต่อไปคือการหาผู้ร่วมลงทุน จัดทําแผนธุรกิจ และวางแผนธุรกิจให้ตรงกับจังหวะเวลา บทความนี้จะอธิบายการนําหลักการคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจผ่านกรณีตัวอย่างเพื่อให้เห็น
ภาพอย่างชัดเจน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). ธุรกิจร้านซักรีด บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนตุลาคม 2562. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201910.pdf

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). Startup. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จากhttp://www.industry.go.th/industry/index.php/th/knowledge/item/10604-startup

กฤษยา มะแอ และ กฤษณา ฝังใจ. (2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 143-158.

ไกรวิทย์ โพธิ์ดม และ ขวัญฤดี พรชัยทิวัตถ์. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 6(2), 161-174.

โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (มศก.). (2560). Startup คืออะไร. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก http://www.startup.su.ac.th/?p=84

ชัยวัฒน์ ใบไม้. (2560). สตารทอัพ: นิยามความสำคัญ และแนวทางการทำวิจัย. วารสารนักบริหาร. 37(2), 10-21.

ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2562). เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพด้วย Design Thinking และ Lean canvas. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ณนนท์ แดงสังวาลและสันติธร ภูริภักดี. (2563). การประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบสำหรับเมนูอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจร้านคาเฟ่แนวถวิลหาอดีต: กรณีศึกษาในเขตพระนคร เขตดุสิต เขตสัมพันธวงศ์และเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 11-26.

DINSOR. (2563). Design Thinking กับการประยุกต์ใช้ในงาน Communication Design. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก https://designbydinsor.com/design-story/design-thinking-communication-design/

ThaiTuykeyClub. (2560). 14 ขั้นตอนสำหรับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ( Startup ). ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก https://startupthai.wordpress.com/2017/06/21/ขั้นตอนการทำธุรกิจstartup

ธุรกิจ มหาธีรานนท์ และคณะ. (2561).วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจสตาร์ทอัพรีไฟแนนซ์แห่งหนึ่ง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 14 “สังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Thailand 4.0” (หน้า 174-182). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2560). ธุรกิจ Startup คืออะไร และเริ่มต้นอย่างไร. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก https://www.narathiwatoss.go.th/files/com_news/2017-04_8d04a1b06fb31c9.pdf

Finance-Rumour. (2020). Startup (สตาร์ทอัพ) คืออะไร? แตกต่างจาก SME (เอสเอ็มอี) หรือไม่?. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก https://www.finance-rumour.com/investment/startup-vs-sme/

Finnomena. (2564). เกี่ยวกับ Finnomena. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.finnomena.com/about-us/

Market Think. (2564). Hungry Hub สตาร์ตอัปที่เปลี่ยนร้านอาหารจานเดียว ให้กลายเป็น “บุฟเฟต์”. ค้นเมื่อ15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.marketthink.co/20191

WASHENJOY. (2562). WASHENJOY X ลงทุนแมน – ทำไมธุรกิจสะดวกซักจึงมีโอกาสเติบโต?. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564, จาก https://washenjoythai.com-copy-37/.

สุพเนตร แสนเสนา และคณะ. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจ Startup. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_1_Startup.pdf

Engineering Today. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสตาร์ทอัพ โดย บิล กรอส (Key Success Factors in Startup by Bill Gross) เครื่องมือทางการบริหารสมัยใหม่ (New Management Tools). ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก https://www.engineeringtoday.net/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ-startup/

Chienwattanasook, K. and Jermsittiparsert, K. (2019). Effect of Technology Capabilities on Sustainable Performance of Pharmaceutical firms in Thailand with moderating role of Organizational Culture. Systematic Review in Pharmacy, 10(2), 188-197.

Poompurk, C., Jermsittiparsert, K. and Chienwattanasook, K. (2021). High Performance Work System, Organizational Embeddedness, and Workers Innovative Behaviour: Evidence from Hotel Industry of Thailand. Psychology and Education, 58(2), 2970-2982.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09