กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากรชุมชน ตำบลกระแชง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กานต์มณี ไวยครุฑ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ธีรพงษ์ น้อยบุญญะ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พัชราภรณ์ จันทรฆาฎ สาขาการจัดการการบริการและการโรงแรม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การพัฒนาการท่องเที่ยว, บนฐานทรัพยากรชุมชน, ตำบลกระแชง, อำเภอบางไทร, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากรชุมชน ตำบลกระแชง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากรชุมชน ตำบลกระแชง  อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเสนอแนวทางการนำกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากรชุมชนตำบลกระแชง อำเภอบาไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปใช้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มประกอบด้วยได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 คน ตัวแทนเกษตรอำเภอบางไทร จำนวน 1 คน ตัวแทนพัฒนาชุมชน จำนวน 1 คน ประชาชนจำนวน 3 คน ผู้ประกอบการจำนวน 2 คน และนักวิชาการจำนวน 3 คน รวมจำนวน 15 คน โดยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ผลการศึกษา พบว่า กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากรชุมชน ตำบลกระแชง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากการทำ SWOT Matrix สามารถสรุปกลยุทธ์ที่จะนำไปพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนตำบลกระแชง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน  7 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก 1) จัดตั้งฐานเรียนรู้และศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน 2) ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐ 3) ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนและประชาสัมพันธ์ของดีชุมชนกระแชง กลยุทธ์แก้ไข  1) จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยว 2) ฝึกอบรมความรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนและอบรมนักสื่อความหมายในชุมชน กลยุทธ์เชิงป้องกัน สร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กลยุทธ์เชิงรับ จัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน  และผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะเพิ่ม 2 กลยุทธ์ คือ การฝึกให้ชุมชนเขียนขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน และการคัดกรองนักท่องเที่ยวเพื่อป้องกันโรคระบาด Covid2019 หลังจากนั้นจึงนำเสนอชุมชน

References

เจนจีรา อักษรพิมพ์. (2560, กันยายน – ธันวาคม). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3), 141-153.

พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์ และคณะ (2562, มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวหมู่บ้านชุมชน (OTOP Village) หมู่บ้านหนองสรวง ตำบลกระแชง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 25-32.

รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ และรัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2557, กรกฎาคม – ธันวาคม). ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสังคมศาสตร์, 10(2), 127-149.

สุเทพ เกื้อสังข์ และคณะ. (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Pearce, J. A. and Robinson, R. B. (2009). Strategic Management : Formulation, Implementation and Control (11th ed). New York: McGraw – Hill.

Wheelen, T. L. and Hunger, J. D. (2008). Strategic Management and Business Policy (11th ed). New Jersey: Prentice–Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30