การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้วย Cashless ของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
คำสำคัญ:
ธุรกรรมการเงิน, ทัศนคติบริการทางการเงินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้วย Cashless ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้วย Cashless ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 1,300 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยการแจกแบบสอบถามใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ค่า One-way ANOVA ผลวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้วย Cashless ของนักศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยใช้บริการเช็คยอดเงิน โอนเงิน ชำระค่าสินค้า/บริการ จ่ายค่าสาธารณูปโภคและเติมเงินโทรศัพท์มือถือเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายและสามารถใช้จ่ายหรือเติมเงินโทรศัพท์มือถือได้ด้วยตัวเอง 2) ผลการศึกษาทัศนคติในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้วย Cashless ของนักศึกษา พบว่า การรับรู้ประโยชน์ใช้สอย, การรับรู้ความง่ายในการใช้งานและความตั้งใจที่จะใช้มีอิทธิพลต่อทัศนคติในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้วย Cashless อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กฤตโสภา ทิพย์ปัญญาวงศ์. (2559). การศึกษาปัญหาและแรงจูงใจในการใช้งานเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม). สังคมไร้เงินสด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(2), 235-248.
ธนพล กองพาลี. (2563). มุ่งสู่เศรษฐกิจไร้เงินสด: พฤติกรรมผู้บริโภคและโอกาสของธุรกิจไทยช่วงโควิด 19. สืบค้น 15 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_21Jul2020.aspx.
ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ธนาคารแห่งประเทศ. (2563). สังคมไทย (กำลัง) ไร้เงินสด. สืบค้น 5 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/Pages/FAQ169.aspx.
นันทนี ลักษมีการค้า. (2561). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชากร เจเนอเรชัน เอ็กซ์ ขึ้นไป : กรณีศึกษาจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภควันต์. (2561). อนาคตโลกกับ “สังคมไร้เงินสด” สู่การปรับตัวครั้งใหญ่ของเหล่าธนาคารพาณิชย์. ค้นเมื่อ 15 มิถุนาย 2563, จาก https://nextempire.co/stories/next-business/.
ฤทธิชัย วานิชย์หานน์. (2559). Cashless Society กับประเทศไทย. ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ระบบชำระเงินดิจิทัล ตัวช่วยSMEทำเงิน. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก http://bit.ly/2vqk7xE.
อรรณพ ดวงมณี และต่อตระกูล อุบลวัตร. (2561, มกราคม - มิถุนายน). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ และทัศนคติที่มีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. นิเทศสยามปริทัศน์, 17 ( 22), 150-153.
อรชพร ศักดิ์พรหม และจิรพล สังข์โพธิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bauer, R. (1967). Consumer Behavior as Risk Taking. Massachusetts: Harvard University.
Chang, I. C, Hwang, H. G., Hung, W. F. and Li, Y. C. (2007). Physicians’ acceptance of pharmacokinetics-based clinical decision support systems. Expert systems with applications, 33(2), 296-303.
Fuksa, M. (2013). Mobile technologies and services development impact on Mobile Internet usage in Latvia. Procedia Computer Science, 41-50.
Mowen, J. C. and Minor, M. (1998). Consumer behavior (5th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior (9th ed). New Jersey: Prentice – Hall.