แนวทางการพัฒนาศักยภาพ แนวทางการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาคณะบัญชีในมุมมองของสำนักงานบัญชี กรณีศึกษา นักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คำสำคัญ:
แนวทางทางการพัฒนา, ศักยภาพของนักศึกษา, คุณลักษณะบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจมุมมองของสำนักงานบัญชี ที่มีต่อคุณลักษณะตามกรอบคุณวุฒินักศึกษาของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ 2) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาคณะบัญชีในมุมมองของสำนักงานบัญชี กรณีศึกษา นักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานประกอบการที่รับนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีเข้าฝึกงานในสถานประกอบการปีการศึกษา 2562 จำนวน 51 หน่วยงาน และนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกงาน จำนวน 132 คน ซึ่งผู้ใช้วิธีแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติที่พื้นฐานใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และ การทดสอบความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุโดยวิธี All Enter ผลการวิจัยพบว่า 1. มุมมองของสำนักงานบัญชีที่มีต่อนักศึกษาฝึกงาน 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก 3) ด้านทักษะทางปัญญา อยู่ในระดับมาก 4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก และ 5) ด้านทักษะการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก คุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของสำนักงานงานบัญชีที่มีต่อการฝึกงานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากร พบว่า 1. คุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม และ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ไม่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจของสำนักงานงานบัญชีที่มีต่อการฝึกงานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ ส่วนปัจจัย ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจของสำนักงานงานบัญชีที่มีต่อการฝึกงานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ความคิดเห็นของสำนักงานบัญชีโดยรวมที่มีต่อนักศึกษาฝึกงานเห็นว่านักศึกษาฝึกงาน มีความสามารถในการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งถัดไป นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
References
กลัญญู เพชราภรณ์. (2563). ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.eledu.ssru.ac.th›mod
จารุณี อินต๊ะสอน. (2562). ทัศนคติด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษา ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (รายงานวิจัย).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชัยวัฒน์ สุรวิชัย. (2564). การพัฒนาศักยภาพตนเอง เพื่อสามารถทำงานให้ตัวเองและสังคม ดี มีประโยชน์และคุณค่ามากขึ้น. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564, จากhttps://siamrath.co.th/n/900.
พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และ จีระศักดิ์ ทัพผา. (2563, มิถุนายน). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ และการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.), 26 (1), 59.
ธาดา ราชกิจ. (2564). ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) สำคัญต่อองค์กรขนาดไหน. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564, จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/190724-employee-satifaction/
พิพัฒน์ มีเถื่อน. (2562). ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ฮันนี่ เวลล์ อิเล็คทรอนิค แมธิเรียลส์ (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุกริจ, มหาวิทยาลัยเกริก.
พรชัย เจดามานและคณะ. (2562). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที 21. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2563, จาก www.hrnote.asia.
มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2558). การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ : แนวคิดเชิงจิตวิทยา. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564, จาก https://www.deafthai.org/wp-content/uploads/2018/05/การพัฒนาศักยภาพมนุษย์.pdf
ศิริพร ชื่นใจ. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/destinyraisa/home.
ศรีหทัย เวลล์ส. (2563, สิงหาคม). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557-2560. วารสารการมนุษย์ศาสตร์และสังคมตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28 (2), 212.
สุรมงคล นิ่มจิตต์, อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์ และ ฉัตรปารี อยู่เย็น. (2560, มกราคม-มิถุนายน). ความคาดหวังของผู้ประกอบการที่มีต่อนักศึกษาโครงการสหกิจศึกษา และนักศึกษาฝึกงานของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 4(1), 47-61.
สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564, จากhttp://old.rmutto.ac.th/rmuttonews/attachment/TR3332_235442.pdf
สำนักงานมาตรฐานการอาชีพและวิชาชีพ. (2564). ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564, จาก http://bsq2.vec.go.th/document/Furniture_50/furniture_50_5.pdf
อลิศรา เปี่ยมถาวร. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรใน สายวิชาชีพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ปฏิบัติงานใน ภาคเอกชน กรณีศึกษา บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.