อิทธิพลเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อการธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
จิตวิญญาณในการทำงาน, สุขภาวะทางจิตใจ, ความผูกพันของบุคลากร, การธำรงรักษาบุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตวิญญาณในการทำงาน สุขภาวะทางจิตใจ ความผูกพันของบุคลากร และการธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ 2) ศึกษาอิทธิพล เชิงโครงสร้างของปัจจัยจิตวิญญาณในการทำงาน สุขภาวะทางจิตใจ และความผูกพันของบุคลากรที่มีผลต่อการธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อยืนยันสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนทั้งสิ้น 860 คน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีระดับของจิตวิญญาณในการทำงาน สุขภาวะทางจิตใจ ความผูกพันของบุคลากร และการธำรงของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) จิตวิญญาณในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะทางจิตใจ ความผูกพันของบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากร ส่วนสุขภาวะทางจิตใจมีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของบุคลากรและการธำรงรักษาบุคลากร และความผูกพันของบุคลากรก็มีอิทธิพลทางตรงต่อการธำรงรักษาบุคลากร
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุขประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.
กฤษดา แสวงดี, เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์, วิชิต หล่อจิรชุณห์กุล และจิราวัลย์ จิตรถเวช. (2552). ตารางชีพการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารประชากร, 1(1), 73-93.
กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 456-468.
เกรียงไกรยศ พันธ์ไทย. (2552). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำ วัฒนธรรมการทำงานในองค์การ และกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษกา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 5-12.
ศิริขวัญ เพ็งสมยา และธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์ของจิตวิญญาณในการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสภาคริตจักรในเขตบางรัก. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-125.pdf.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2554). การศึกษาและติดตามการขาดแคลนบุคลากรทางด้านพยาบาลของคณะ กรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2562, จาก http://www.library2.parliament.go.th/giventake/content_sn/.../d022154-16.pdf.
ออรดี จอดเกาะ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2563). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของคุณภาพชีวิตในงาน สุขภาวะทางจิตใจ และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(3), 273-287.
Abun, D., Magallanes, T., Foronda, G. S. L. and Encarnacion, M. J. (2020). Employees’ workplace well-being and work engagement of divine word colleges’ employees in Ilocos region, Philippines. Research in Business & Social Science, 9(2), 70-84.
Anvari, R., Barzaki, A. S., Amiri, L., Irum, S. and Shapourabadi, S. (2017). The mediating effect of organizational citizenship behavior on the relationship between workplace spirituality and intention to leave. Intangible Capital, 13(3), 615-639.
Arifin, F. A., Troena, E A. and Rahayu, M. (2014). The influence of organizational culture, leadership, and personal characteristics towards work engagement and Its impacts on teacher’s performance: A study on accredited high schools in Jakarta. International Journal of Business and Management Invention, 3(1), 20-29.
Ashraf, T. and Siddiqui, D. A. (2020). The impact of employee engagement on employee retention: The role of Psychological capital, control at work, general well-being and job satisfaction. Human Resource Research, 4(1), 67-93.
Banerjee, A. (2019). Failure of employee retention and its consequences on organization through content analysis. International Journal of Research Granthaalayah, 7(3), 200-207.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Garg, N. (2017). Workplace spirituality and employee well-being: An empirical exploration. Journal of Human Values, 23(2), 129-147.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L. and Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New York: Prentice Hall.
Indradevi, R. (2020). Workplace spirituality: Successful mantra for modern organization. Journal of Critical Reviews, 7(6), 437-440.
Kumar, K. and Rao, S. (2020). Employee retention strategies in startups: A study with reference to select startups at Hyderabad. Journal of Critical Reviews, 7(2), 1180-1185.
Leite, A., Ramires, A., Moura, A. D., Souto, T. and Maroco, J. (2019). Psychological well-being and health perception: Predictors for pact, present and future. Arch Clin Psychatry, 140, 5-53.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Pawar, B. S. (2016). Workplace spirituality and employee well-being: An empirical examination. Employee Relations, 38(6), 975-994.
Schutte, P. J. W. (2016). Workplace spirituality: A tool or a trend?. HTS Teologiese Studies, Theological Studies, 72(4), 1-5.