การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ปานสังข์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่ทางปกครอง, บริการสาธารณะ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ทางปกครองเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะ ของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ ของบุคคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ ของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งทำการศึกษาถึงการจัดทำบริการสาธารณะใน 4 ด้าน คือ 1. ด้านการออก “กฎ”/ “ข้อบัญญัติ”              2. ด้านการออก “คำสั่งทางปกครอง” 3. ด้านการทำ “สัญญาทางปกครอง”  และ 4. ด้าน “การปฏิบัติทางปกครอง”  และเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research หรือ MMR) โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้ประชากรจำนวน 3  กลุ่ม คือ 1. ผู้บริหารท้องถิ่น 2. สมาชิกสภาท้องถิ่น 3. ข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น และใช้กลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้น ซึ่งผู้วิจัยได้คำนวณหากลุ่มตัวอย่างได้จำนวนทั้งสิ้น 248  คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน  6 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ทางปกครองเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะของบุคลากรในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการออก “กฎ”/ “ข้อบัญญัติ” มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการออก “คำสั่งทางปกครอง” และด้านการทำ “สัญญาทางปกครอง” ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ   ด้าน “การปฏิบัติทางปกครอง” ตามลำดับ
  2. ปัจจัยมีผลต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ ของบุคลากรในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการออก “คำสั่งทางปกครอง” มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการทำ “สัญญาทางปกครอง” และด้านการ “ปฏิบัติทางปกครอง” ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ  ด้านการออก “กฎ”/ “ข้อบัญญัติ” ตามลำดับ

References

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชนเล่ม ๓ ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ประยูร กาญจนดุล. (2538). คำบรรยายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรัช โตสวัสดิ์. (2547). การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติการทางปกครอง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มานิดา สิงหกุล. (2548). การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิวาพร สุขเอียด. (2562). การปกครองส่วนท้องถิ่น. ค้นเมือ 22 มีนาคม 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title.

อิทธิพล ทัศนา. (2542). อำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบันฑิต สาขานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30