ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทนิโปร (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ค่าตอบแทน, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน, พนักงานฝ่ายผลิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายผลิต และศึกษาปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทนิโปร (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การสุ่มตัวอย่างของพนักงานฝ่ายผลิต IFSA จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และทำการสรุปผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.20 อายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.60 ระดับการศึกษามัธยมปลาย, ปวช. คิดเป็นร้อยละ 56.80 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 47.20 อายุการทำงานระหว่าง 1-3 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.20 รายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 67.20 ระดับความคิดเห็นปัจจัยค่าตอบแทนของพนักงานฝ่ายผลิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.99 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง คือ ความมั่นคงและพอใจในงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 ค่าตอบแทนทางการเงิน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 และความสำเร็จและตรงต่อเวลาในการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 ความคิดเห็นด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีจิตสำนึกในการคำนึงถึงคุณภาพของงานหรือผลงานที่จะส่งผลถึงภาพลักษณ์ขององค์การ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 รองลงมาคือ มีการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานอยู่เสมอเพื่อให้งานเสร็จทันเวลา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 และเพื่อนร่วมงานให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.38
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกัน ส่งผลต่อปัจจัยค่าตอบแทนทางการเงินของพนักงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ขณะที่อายุการทำงาน การศึกษา รายได้ประจำเดือน เพศ อายุและสถานภาพสมรส จะสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05