แนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์กาแฟดอยหวาน ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด สู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ มณีธร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วีรศักดิ์ สมยานะ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การต่อยอดผลิตภัณฑ์, ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, กาแฟดอยหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์กาแฟดอยหวาน                  ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด สู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟดอยหวาน มีศักยภาพสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดในรูปแบบซองพกพาหรือซองดริป ผลการวิจัยพบแนวทางในพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ (1) การรับซื้อเมล็ดกาแฟที่ผ่านกระบวนการคั่วสำเร็จตามสูตรที่ต้องการจากกลุ่มเกษตรกร (2) นำเมล็ดกาแฟคั่วสำเร็จตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ (3) จัดส่งเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคั่วและตรวจสอบรสชาติแล้วไปยังโรงงานเอกชนเพื่อจ้างบดและบรรจุ อัดก๊าซไนโตรเจนในซองเพื่อรักษาคุณภาพของผงกาแฟจนได้ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปแบบซองพกพา                       หรือ ซองดริป (4) ดำเนินการขอขึ้นทะเบียน อย. 4 (5) ขนส่งกาแฟที่บรรจุแล้วจัดเก็บในคลังเพื่อรอจำหน่ายต่อไป              เมื่อดำเนินการทั้งกระบวนการแล้วเสร็จ กาแฟผงสำเร็จรูปแบบซองพกพา ขนาด ซอง 8 กรัม จำนวน 7,000 ซอง              จะมีต้นทุนอยู่ที่ 22.1896 บาท ต่อ 1 ซอง และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรวมทั้งสิ้น 5,350 บาท จำนวนเงินที่ต้องใช้ลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ขนาด 8 กรัม จำนวนการผลิตขั้นต่ำที่ 7,000 ซอง จะมียอดเงินที่ใช้ในการลงทุนรวมทั้งสิ้น 160,677.2 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27