เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม, การท่องเที่ยว, ค่าใช้จ่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทำให้เกิดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ปี 2537 – 2561 โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ 2 ลักษณะคือ 1) การวิเคราะห์ทางสถิติพื้นฐานเพื่อสังเกตพฤติกรรมโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 76 เปอร์เซ็นต์ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 24 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลานำพักเฉลี่ยต่อวันจะเป็นการจองเข้าพักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 52 เปอร์เซ็นต์ และนักท่องเที่ยวชาวไทย 48 เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ พบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันในการท่องเที่ยว 63 เปอร์เซ็นต์ และนักท่องเที่ยวชาวไทย 37 เปอร์เซ็นต์ 2) การวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านสมการถดถอยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares Regression หรือ OLS ) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้เกิดรายได้จากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สำคัญๆ ได้แก่ รายได้ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นตัวหลัก และ ค่าบริการด้านที่พักโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). จำนวนนักท่องเที่ยวปี พ.ศ. 2537-2561. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563, จาก www.tat.or.th
จุฑารัตน์ เพ็ชรประคอง และคณะ. ( 2561 ). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารปาริชาต, 31(3), 178-184.
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ และคณะ ( 2559, มกราคม – มิถุนายน). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารวิทยาการจัดการ, 33(1), 25-50.
นัฐพร เกิดกลาง, ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ และพิศมัย จารุจิตติพันธ. ( 2553, มกราคม). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 2(1), 78-88.
ปราณี ตันประยูร และกิติมา ทามาลี. (2561, กันยายน- ธันวาคม). การจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 171-184.
วรรษมน จันทดิษฐ์. ( 2552 ). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สิริรัตน์ นาคแป้น. ( 2555 ). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการท่องเที่ยว เกาะพะงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อมรินทร์ ตันติเมธ. ( 2550 ). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษาการตัดสินใจเลือกเดินทางมายังประเทศไทยของชาวต่างชาติ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อุมาพร บุญเพชรแก้ว และคณะ. (2561, กันยายน – ธันวาคม). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนเกาะหมาก จังหวัดตราด. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2686-2703.
Abdel-Aal, M. (2014). Calibrating a trip distribution gravity model stratified by the trip purposes for the city of alexandria. Alexandria engineering journal, 53 (3). Retrieved from doi: 10.1016/j.aej.2014.04.
Khadaroo, J. (2008). The role of transport infrastructure in international tourism development: A gravity model approach. Tourism management, 29(5), 831-840.