การศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • นาฏยา แสงพระอินทร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรเทพ รู้แผน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การบริหารแหล่งเรียนรู้, การบริหารแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบสภาพ และปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพของครู ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสอน และขนาดของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง  คือ  ครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต  2 จำนวน 285 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีส่วนร่วมในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีส่วนร่วมสูงสุด คือ ด้านการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีส่วนร่วมต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศ ติดตาม   การใช้แหล่งเรียนรู้  ในส่วนของปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้  ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุดคือ ด้านการนิเทศ ติดตามการใช้แหล่งเรียนรู้  2) ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสอนต่ำกว่า 10 ปี ครูเพศหญิงมีปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามากกว่าครูเพศชายในด้านการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้  และด้านการนิเทศ  ติดตามการใช้แหล่งเรียนรู้  และครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาขนาดเล็กในด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้  ด้านการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้  ด้านการนิเทศ  ติดตามการใช้แหล่งเรียนรู้  และด้านการประเมินผลการนำแหล่งเรียนรู้ไปใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29