การได้มาซึ่งประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
คำสำคัญ:
คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย, สภามหาวิทยาลัย, ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย, ปัญหาทางกฎหมายจากการตราข้อบังคับของมหาวิทยาลัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวความคิดทฤษฎีของการได้มาซึ่งประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจากการตราข้อบังคับของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายของการได้มาซึ่งประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจากการตราข้อบังคับของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 3) เพื่อแสวงหาแนวทางและมาตรการ อื่นที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาทางกฎหมายของการได้มา ซึ่งประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย จากการตราข้อบังคับของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใน ลักษณะของการวิจัยเอกสาร การค้นคว้าและรวบรวมจากเอกสาร ตำราวิชาการ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาของศาล ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎา ความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. การที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 16 (2) กำหนดให้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย และมาตรา 25 กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ส่งผลทำให้ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเกิดปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรง ตำแหน่งประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 2. กระบวนการได้มามาซึ่งประธานกรรมการส่งเสริม กิจการมหาวิทยาลัย ขาดหลักธรรมาภิบาล ขาดการมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดปัญหาตามมา 3. สภามหาวิทยาลัยตราข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัยและนำไปประกาศใช้โดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องหรือความชอบด้วยกฎหมายก่อน