การศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการบริหารจัดการที่พักแบบมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ในจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ จันทรฆาฎ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ศักยภาพชุมชน, มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย, จังหวัดสระแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพชุมชนด้านการบริหารจัดการที่พักแบบมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยในจังหวัดสระแก้ว โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตามดัชนีชี้วัดมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย กำหนดให้มีดัชนีชี้วัดมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 10 ด้านและ 27 ดัชนีชี้วัด จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว ด้านโฮมสเตย์ ด้านการจัดการ ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านความปลอดภัย ด้านการตลาด และผู้ประกอบการ จำนวน 9 อำเภอ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ได้ผลสรุป คือ ผลรวมด้านอาหาร มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ผลรวมด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ผลรวมด้านวัฒนธรรม มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ผลรวมด้านที่พัก มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ผลรวมด้านรายได้เสริมและการเชื่อมโยงธุรกิจชุมชน มีความศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ผลรวมด้านความปลอดภัย มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 ผลรวมด้านการท่องเที่ยว     มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 ผลรวมด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีศักยภาพของชมชนในภาพรวมระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ผลรวมด้านการบริหารของโฮมสเตย์ มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 และ ผลรวมด้านการประชาสัมพันธ์ มีศักยภาพของชุมชนในภาพรวมระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30