แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกสินค้าทางอากาศ

ผู้แต่ง

  • อมรา ดอกไม้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การเพิ่มประสิทธิภาพ, การส่งออก, การขนส่งทางอากาศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าทางอากาศของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่ ดัชนีวัดประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (LPI) ปี 2561 และรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2558 - 2560 โดยผู้เขียนมีแนวทางในการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสูงขึ้น โดยใช้ดัชนีชี้วัดขีดความสามารถโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของกระบวนการศุลกากร (The efficiency of customs and border management clearance) 2) คุณภาพโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกการขนส่งและการค้า (The quality of trade and transport infrastructure) 3) การเตรียมการขนส่งระหว่างประเทศ  (International Shipment) 4) การเพิ่มสมรรถนะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและธุรกิจ (Logistics Quality and Competence) 5) ความตรงต่อเวลาของการบริการ (Timeliness)  6) ระบบการติดตามและตรวจสอบ (Tracking and Tracing) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากบทความนี้จะเป็นแนวทางสำคัญในการเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าทางอากาศของประเทศไทยและเพิ่มประสิทธิภาพดัชนีชี้วัดขีดความสามารถโลจิสติกส์ไทยให้ได้ในระดับที่สูงขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30