การสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่

Main Article Content

ขวัญพร ไวว่อง
ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธาน รองประธาน เจ้าหน้าที่รณรงค์และวิชาการ เจ้าหน้าที่รณรงค์และเผยแพร่ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารของสภาลมหายใจเชียงใหม่ จำนวน 5 ท่าน ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร เพจเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ ในช่วง พ.ศ. 2564 – 2566


ผลการศึกษาพบว่า สภาลมหายใจเชียงใหม่ทำการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหา ฝุ่นควัน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การประเมินความต้องการ เป้าประสงค์ และความสามารถในการตอบสนองของกลุ่มเป้าหมาย 2 ระดับ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป โดยพิจารณาความคิดเห็นบนเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ของสภาลมหายใจเชียงใหม่ และหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่าย โดยสอบถามความคิดเห็นจากการพูดคุย หรือการประชุม 2. การกำหนดแผนการรณรงค์และสร้างสื่อ พบว่า สภาลมหายใจเชียงใหม่ มีการวางแผน 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะยาว แผนระยะกลาง และแผนระยะสั้น โดยเนื้อหาของแผนมุ่งเน้นและให้ความสำคัญเรื่อง 1) การสื่อสาร เพื่อลดปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 2) การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักรู้ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของภาคประชาชน และ 3) การเป็นสื่อกลางในการประสานการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน การใช้สื่อและกิจกรรม ประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อกิจกรรม และ สื่อใหม่ โดยใช้กลยุทธ์และรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการรณรงค์ คือ การเน้นย้ำ การใช้สารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอด้วยสารที่น่าเชื่อถือ และการใช้สื่อที่หลากหลาย มุ่งเน้นการโน้มน้าวใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้สารที่เป็นเหตุผล สารที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก และจุดจูงใจโดยใช้อารมณ์ร่วม 3. การประเมินผลการรณรงค์มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) การประเมินผลก่อนการรณรงค์ 2) การประเมินผลระหว่างการรณรงค์ 3) การประเมินผลหลังการรณรงค์ ทั้งนี้ตัวแบบการสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ปัญหาฝุ่นควันในอนาคตควรเน้นการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืน การใช้สื่อใหม่ในการสื่อสารกับประชาชนทั่วไปและเกษตรกร และควรสื่อสารเรื่องการจัดการไฟป่าเพื่อให้ทราบถึงวิธีการจัดการไฟป่าที่ถูกต้อง

Article Details

How to Cite
ไวว่อง ข., & ศรีประพันธ์ ข. (2024). การสื่อสารเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสภาลมหายใจเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 12(2), 143–172. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/276143
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน: โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. สามัคคีสาส์น.

กอบกุล รายะนาคร. (2563, 19 มีนาคม). หมอกควันภาคเหนือ: ปัญหาเรื้อรังที่รอคอยการแก้ไข. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/124667

เกษม จันทร์น้อย. (2537). สื่อประชาสัมพันธ์. นานมีบุ๊คส์.

จันทนา ทองประยูร. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร หน่วยที่ 14. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธิดา ทานตะวัน. (2552). การรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2546). การสื่อสารสุขภาพ: ศักยภาพของสื่อมวลชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2551). การสื่อสารประเด็นสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/6944/1/Parichat_communication.pdf

ศุภชัย อาภาศิลป์. (2551). การสื่อสารรณรงค์โครงการเครือข่ายคนไทยไร้พุง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุระชัย ชูผกา. (2562). หลักรณรงค์เปลี่ยนโลกได้ด้วยมือเปล่า. โรงพิมพ์ กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สภาลมหายใจเชียงใหม่. (2563). ยุทธศาสตร์และแผนงานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ปี 2564-2566. https://shorturl.at/uWVR

สมสุข หินวิมาน, กำจร หลุยยพงศ์, และ เธียรชัย อิศรเดช. (2547). โครงการเครือข่ายการสื่อสารกับศักยภาพการดำรงของชุมชน ศึกษากรณี ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bryant, J. & Thompson, S. (2002). Fundamentals of media effects. Mcgraw - Hill.

Kotler, P. (1982). Marketing for nonprofit organizations. Prentice - Hall.