บทบาทของชนชั้นนำต่อการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย: กรณีศึกษา พ.ศ. 2440-2479
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของชนชั้นนำที่มีต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วง พ.ศ. 2440-2479 ในลักษณะของการควบคุมครอบงำว่ามีอิทธิพลใดก่อให้เกิดขึ้น ชนชั้นนำมีการแสดงออกถึงบทบาทอย่างไรและส่งผลกระทบอย่างไร โดยเป็นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารประวัติศาสตร์และใช้วิธีการสรุปประเด็น มีขอบเขตศึกษาข้อมูลในภาพรวมเชิงประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5-7 จำแนกการศึกษาวิจัยออกเป็นลักษณะของการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยรัฐและชนชั้นนำ ประกอบด้วย การแสดงอำนาจเหนือกิจการภาพยนตร์ การตรวจสอบภาพยนตร์ก่อนเข้าฉาย (เซนเซอร์) และการออกกฎหมายควบคู่กับการตรวจสอบภาพยนตร์ก่อนเข้าฉาย ผลการวิจัยพบว่า ชนชั้นนำมีบทบาทในการควบคุมครอบงำอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้ โดยปรากฏหลักฐานว่าการควบคุมครอบงำมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวทางการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยด้วยการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา มีการนำภาพยนตร์เข้ามาในเผยแพร่ในประเทศผ่านชนชั้นนำ หลังจากนั้นชนชั้นนำจึงได้แสดงบทบาทการควบคุมครอบงำต่อการร่างและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมภาพยนตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นการสร้างวัฒนธรรมความหวาดกลัวสำหรับผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่จะผลิตเนื้อหาแตกต่างจากบรรทัดฐานด้านความมั่นคงและศีลธรรมอันดีที่รัฐวางไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กฤษดา เกิดดี. (2548). การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์. โรงพิมพ์ หสน. ห้องภาพสุวรรณ.
เกษม ศิริสัมพันธ์. (2551). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ด่านสุทธาการพิมพ์.
กอปรพงษ์ กุณฑียะ. (2559). การวิเคราะห์การอภิปรายความเชิงวิพากษ์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ในประเทศไทย. [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โดม สุขวงศ์. (2539). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับภาพยนตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษั คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.
โดม สุขวงศ์. (2555). สยามภาพยนต์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ ลินคอล์น โปรโมชั่น.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2559). ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. (2544). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2537, พฤศจิกายน). ถอดรหัสโลกาภิวัตน์. มติชนสุดสัปดาห์, 15 (743).
ประชาไท. (13 ตุลาคม 2564). CENSORSHIP NEVER DIES คำเตือน: บางเรื่องอาจหาดูไม่ได้ในประเทศนี้. https://prachatai.com/journal/2021/10/95451
ประชาไท. (20 กุมภาพันธ์ 2567). ศาล ปค.สูงสุดให้ฉาย‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ กองเซ็นเซอร์ต้องจ่าย 5 แสนพร้อมดอกเพราะสั่งห้ามฉาย. https://prachatai.com/journal/2024/02/108144
เมาริตซิโอ เปเลจจี. (2566). เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี่. สมมติ.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2547). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 11. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หอภาพยนตร์. (4 กุมภาพันธ์ 2564). แมลงรักในสวนหลังบ้าน. https://fapot.or.th/main/news/634
อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2552). ความคิดเห็นต่อการจัดระดับภาพยนตร์สำหรับประเทศไทย. [ปริญญานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:124442
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2560). 120 ปี ธุรกิจภาพยนตร์ไทยในมิติประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมไทย. ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
Goldstein, M., King G. and Wright M. (2010). Diffusionism and Acculturation. Department of Anthropology the University of Alabama. Retrieve from https://anthropology.ua.edu/theory/diffusionism-and-acculturation/
Sassoon, A. S. (1982). Passive revolution and the politics of reform. Approaches to Gramsci.
Wittern-Keller, L. (2013). All the power of the law: governmental film censorship in the United States. In Silencing Cinema: Film Censorship around the World (pp. 15-32). New York: Palgrave Macmillan US.
WorkpointToday. (20 กุมภาพันธ์ 2567). ศาลปกครองสูงสุด พิพากษา ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ชนะคดีละเมิด ยกคำสั่งแบน-ให้กองเซ็นเซอร์ชดใช้. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/shakespeare-must-die/