การสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยซ่อนสัญญะทางการเมืองในประเทศไทย

Main Article Content

พงศรัณย์ จิตต์สวาสดิ์
ปรวัน แพทยานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยซ่อนสัญญะทางการเมืองในประเทศไทย[1] มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพยนตร์ไทยและสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ไทย โดยศึกษาว่าภาพยนตร์ไทยมีการใช้สัญญะในการสื่อความหมายประเด็นทางการเมืองอย่างไร รูปแบบใด โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือทฤษฎีสัญวิทยาเป็นหลัก (Semiology) เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ไทย สำหรับงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือภาพยนตร์ไทยในช่วง พ.ศ.2558-2562 ซึ่งเป็นช่วงของรัฐบาลทหารและเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับผลกระทบจากกระแสสังคม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6 เรื่อง ด้วยการวิเคราะห์ผ่านตัวบท (Textual analysis) จากการวิจัยพบว่าสัญญะที่ปรากฎในภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง พบว่า 1.การวิเคราะห์หน่วยการเล่าเรื่องในการสื่อความหมาย พบว่า ภาพยนตร์ไทยใช้รูปแบบ เน้นการเล่าเรื่องเป็นหลัก ในการสื่อความหมาย 2.มายาคติในการสื่อความหมาย พบว่า ภาพยนตร์ไทยใช้รูปแบบของเหตุการณ์เป็นหลัก รองลงมาคือ ตัวละคร ในการสื่อความหมาย 3.ระยะห่างของสัญญะในการสื่อความหมาย พบว่า ภาพยนตร์ไทยใช้รูปแบบของสัญญะห่างกันในระดับ 3 หรือ สัญลักษณ์เป็นหลัก โดยภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง ใช้สัญญะสื่อความหมายถึงประเด็นและปัญหาในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ 1.โครงสร้างสังคม 2.การแสดงออก 3.อุดมการณ์ 4.สังคมในอุดมคติ 5.ชนชั้นสูง 6.ชนชั้นล่าง


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 4). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2547). หนังอุษาคเนย์ : การศึกษาภาพยนตร์แนววัฒนธรรมศึกษา. โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์. (2558). ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตคณะศิลปกรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญวิทยา, โครงสร้างนิยม, หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์ = Semiology, structuralism, post-structuralism and the study of political science (พิมพ์ครั้งที่ 1). วิภาษา.

เถกิง พัฒโนภาษ. (2551). สัญศาสตร์กับภาพแทนความ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 62(1), 35-50.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์อ่านและสำนักพิมพ์วิภาษา.

นพพร ประชากุล. (2558). มายาคติ. Mythologies (พิมพ์ครั้งที่ 5). มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

นริสร เติมชัยธนโชติ. (2561). การสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฎในภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยรางวัลสุพรรณหงส์ พ.ศ. 2550-2559 [Paper presentation]. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

ประชา สุวีรานนท์. (2542). แล่เนื้อเถือหนัง. มติชน.

สุรศักดิ์ บุญอาจ. (2564). สุนทรียศาสตร์และการเมืองในภาพยนตร์ของคงเดช จาตุรันต์รัศมี. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 32(1), 16-27.

อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสที่ได้รับรางวัลระหว่าง พ.ศ. 2543-2555. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 71-80.

อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2561). รัฐกับศักยภาพของภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 115-125.