มองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในประเทศไทยผ่านแนวคิดและทฤษฎี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่อธิบายการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยวิธีการศึกษาเอกสาร บทความ ตำราและงานวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นแนวทางศึกษาปรากฏการณ์การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในประเทศไทย ตามแนวคิดและทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติชาร์ล ดาร์วิน แนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ทฤษฎีการรื้อสร้าง และแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ จากทฤษฎีวิวัฒนาการทำให้พบว่าการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์มีวิวัฒนาการในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มต้นการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ขั้นที่ 2 ขั้นยอมรับการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ขั้นที่ 3 ขั้นอิ่มตัวรูปแบบเดิมเกิดรูปแบบการปลอมตัว ขั้นที่ 4 ขั้นอิ่มตัวรูปแบบเดิมเกิดรูปแบบใหม่ภาคต่อ และขั้นที่ 5 ขั้นอิ่มตัวรูปแบบเดิมเกิดรูปแบบผลิตซ้ำซีรีส์ต่างประเทศ จากแนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมที่มีความเชื่อว่าวัฒนธรรมใดถูกบันทึกจะทำให้วัฒนธรรมนั้นยังคงดำรงอยู่ ซึ่งการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์เป็นวิถีการผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้เกิดการดำรงอยู่ในความหมาย 3 ความหมาย ได้แก่ การทำซ้ำหรือการตอกย้ำ การรักษาหรือการสืบทอด และการหวนระลึกอดีต ในเชิงประจักษ์ การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์มีกระบวนการผลิตที่มีการเลือกสรรและตีความภาษาโดยอธิบายผ่านทฤษฎีการรื้อสร้างบทละคร ได้แก่ ชื่อเรื่อง แก่นของเรื่อง โครงเรื่อง และความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การรื้อทวนสร้างใหม่เป็นการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ดังที่ปรากฏให้รับชมในประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับ สื่อสารศึกษา. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อสารมวลชน ทฤษฎี และแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ศาลาแดง
กันยาวรรนธ์ กำเนิดสินธุ์. (2565, 2 พฤษภาคม). ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง. https://site.bsru.ac.th/padm/wp-content/uploads/2020/10/ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง-7.pdf
กฤษณ์ คำนนท์. (2564). การสร้างภาพตายตัวจากการโหยหาอดีต และการผลิตซ้ำด้วยการเชื่อมโยงตัวบทของการแต่งหน้าของนักร้องในมิวสิควีดีโอเพลง “ได้แค่นี้”. วารสารสถาบัันวัฒนธรรมและศิิลปะ, 22(2), 140-151.
แข มังกรวงษ์. (2560). แนวทางการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยที่ผลิตซ้ำโครงเรื่องเดิม. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 19(24), 121-130.
คำ ผกา. (2565, 9 พฤษภาคม). ละครไทยน้ำเน่า หรือความเป็นไทยที่เน่า. Matichonweekly. https://www.matichonweekly.com/column/article_523037
ชวพร ธรรมนิตยกุล. (2550). การผลิตซ้ำรายการบิ๊กบราเธอร์ในประเทศไทย[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2542). ทฤษฎีความรู้. สำนักพิมพ์รามคำแหง.
ดวงพร คงอุดม. (2555). การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธิติมา จุติมานนท์. (2546). ธุรกิจโทรทัศน์ พ.ศ.2545 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพพร ประชากุล. (2543, ม.ป.ป.). สัมพันธบท (Intertextuality). สารคดี, 16(182), 175-177.
นภัทร อารีศิริ. (2554). การวิเคราะห์อุดมการณ์ทางสังคมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ไทยที่นำมาผลิตซ้ำ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นวภู แซ่ตั้ง. (2563). วัฒนธรรมศึกษากับการสึกษาศิลปะบริบท. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 39(1), 134-148.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2564). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พนิดา หันสวาสดิ์. (2544). ผู้หญิงในภาพยนตร์: กระบวนการผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพิ่มพร ณ นคร. (2566). วิวัฒน์การสื่อสารต่อสู้และต่อรองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
เพิ่มพร ณ นคร. (2562). การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพิ่มพร ณ นคร, ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, และ สันทัด ทองรินทร์. (2563). การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับช่องทางการตลาดการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 8(1), 100-127.
ภัทราภรณ์ ช้อยหิรัญ. (2563). ทฤษฎีการรื้อสร้างกับการอ่านตีความ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4), 329-340.
เย็นจิตร ถิ่นขาม และ มณีมัย ทองอยู่. (2552). การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมระหว่างหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น. วารสารวิจัยมข, 9(4), 90-110.
รันติกาญ มันตลักษ์, ธรรญธร ปัญญโสภณ, และ พีรยา หาญพงษ์พันธ์. (2559). สัมพันธบทการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์รีเมกเรื่องคู่กรรม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 9(1), 30-44.
ลัดดา จิตตคุตตานนท์. (2565). การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมเพื่อการผลิตซ้ำตำนานอินทขิล. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 10(1), 90-108.
ลีลา จันทร์สว่าง. (2562). การศึกษาความเชื่อมโยงของสื่อ สังคมและอุดมการณ์ชาตินิยมกระแสหลัก ผ่านสื่อละครโทรทัศน์เรื่อง ทวิภพ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สกาวใจ พูนสวัสดิ์. (2547). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารรายการละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมสุข หินวิมาน. (2557). เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารงานโทรทัศน์ หน่วยที่ 1-5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมสุข หินวิมาน. (2545). “ละครโทรทัศน์เรื่องของตบ ๆ จูบ ๆ และ ผัว ๆ เมีย ๆ ในสื่อน้ำเน่า”. สื่อบันเทิง: อำนาจแห่งความไร้สาระ. All About Print.
ชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปวิจัย: สร้างวิชาการแบบการปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะ. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Comte, A. (1988). The enlightenment and the founding of sociology in France. Sociological Theory. University of Maryland, 2(1). 9-15.
Kroeber, A. L., & Kluckhohn, C. (1952). Culture: A critical review of concepts and definitions. Harvard University peabody museum of American archeology and ethnology papers. Vintage Books.
Bourdieu, P. (1998). Practical reason: On the theory of action. Stanford University Press.
Verevise, C. (2004). Remaking film. In film study. Research Gate.
Williams, R. (1983). Culture and society 1780-1950. Columbia University.