อัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงของศิลปินกรณีศึกษา สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ณัฐวุฒิ ธุระวร และบัญชา มุแฮ

Main Article Content

ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
จิรเวทย์ รักชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนออัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลง และเพื่อศึกษาการนำเสนออัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงของศิลปิน โดยเน้นการวิเคราะห์เนื้อหาเพลงและการสัมภาษณ์เจาะลึก แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างหมวดหมู่อัตลักษณ์


ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาการนำเสนออัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลง 9 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเคลื่อนย้ายสู่เมือง (2) ความเชื่อดั้งเดิม ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับปกาเกอะญอ (4) ความรัก (5) มิตรภาพ (6) หลักคำสั่งสอน (7) พลวัติและการปรับตัว (8) วิถีปกาเกอะญอ (9) เพลงที่ไม่ปรากฏเนื้อหา แต่เปิดโอกาสให้ตีความตามชื่อเพลง และพบการนำเสนออัตลักษณ์ 3 ระดับ คือ อัตลักษณ์ปัจเจกบุคคล เป็นการประกอบสร้างประสบการณ์จากมุมมองที่มีต่อตนเอง อัตลักษณ์ร่วม เป็นอัตลักษณ์ที่ใช้แนวคิดประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นเงื่อนไขเพื่อสร้างพลังทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางสังคม เป็นการยกระดับคุณค่า ความหมายทางวัฒนธรรม เพื่อต่อรองความหมายใหม่แก่นิยามปกาเกอะญอ ในฐานะพลเมืองไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


นอกจากนี้ยังพบว่าการตัดสินใจแสดงอัตลักษณ์นั้นมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์เชิงอำนาจกับบริบทพื้นที่ที่จะต้องปฏิสัมพันธ์ ด้วยเหตุดังกล่าว อัตลักษณ์ปกาเกอะญอจึงไม่หยุดนิ่งและลื่นไหลไปตามบริบทของสถานที่และเวลา


 

Article Details

How to Cite
ภัทรเกียรติทวี ท., & รักชาติ จ. (2023). อัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงของศิลปินกรณีศึกษา สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ณัฐวุฒิ ธุระวร และบัญชา มุแฮ. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 11(2), 199–221. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/268063
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร เล็งศรี. (2557). อัตลักษณ์อีสานในเพลงลูกทุ่งของ ไผ่ พงศธร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กฤตยา โนตานนท์. (2552). ดนตรีปกาเกอะญอสมัยใหม่กับการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร. โรงพิมพ์ภาพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. เอดิสัน เพรช โพรดักส์.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2546). "กะเหรี่ยง" : หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชิญขวัญ ภุชฌงค์. (2549). การสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมืองในการปรับตัว และการแสดงอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวิช จตุวรพฤกษ์. (2548). พรมแดน อัตลักษณ์กระบวนการทำให้กลายเป็นสินค้า. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นิติ ภวัครพันธุ์. (2541). บางครั้งเป็นคนไทยบางครั้งเป็นคนไทย บางครั้งไม่ใช่ อัตลักษณ์แห่งตัวตนที่ผันแปรได้. รัฐศาสตร์สาร. 20(3), 215-252

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2545). ชาวเขาในไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มติชน.

ปนัดดา บุณยสาระนัย. (2544). กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลูวิส, พี. และ ลูวิส, อี. (2528) Peoples of the golden triangle : Six tribes in Thailand [หกเผ่าชาวดอย]. หัตถกรรมชาวเขา.

สกลกานต์ อินทร์ไทร. (2539). การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มเด็กปั๊ม ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2553). การสื่อสารเพื่อสร้าง ธำรงรักษา และต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อภินันท์ ธรรมเสนา. (2553). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มคนยองในจังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Barth, F. (1969). Ethnic group and boundaries: The social oganization of culture defference. Little Brown.

Hall, S. (1996). Introduction. In Fredrerik Barth (Ed.), Ethnic group and boundaries (pp. ). Little Brown.