การสื่อสารผ่านบริบททางสังคมและการผสมผสานทางวัฒนธรรม ในหนังสือการ์ตูนยอดตีพิมพ์อันดับ 1 ของโลก “วันพีซ”

Main Article Content

เอกรงค์ ปั้นพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางสังคม วัฒนธรรม ทั่วโลกที่ปรากฏในการ์ตูนวันพีซ และ 2) การผสมผสานทางวัฒนธรรมทั่วโลกที่ปรากฏในการ์ตูนวันพีซที่มีส่วนในการเสริมสร้างความนิยมให้การ์ตูนวันพีซมียอดการตีพิมพ์เป็นอันดับ 1 ของโลก ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (descriptive analysis) ใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) โดยจะศึกษาเฉพาะหนังสือการ์ตูนวันพีซ (มังงะ) ทั้งหมด 1,053 ตอน 103 เล่ม และทำการวิเคราะห์เอกสาร ตำรา เว็บไซด์ ที่เกี่ยวข้อง (documentary research) นอกจากนี้ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in - depth interview) กับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลเสริม


                ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวความคิดหลักของเรื่องคือ ทุนนิยมเสรี/อิสระเสรีที่ไม่ถูกปิดกั้น (กลุ่มโจรสลัด) ต่อสู้กับอำนาจนิยม/เผด็จการทหาร (รัฐบาลโลก) ส่วนแนวความคิดรองของเรื่องคือ ความสามัคคี/เพื่อนพ้อง คือพลัง และความแตกต่างทางชนชั้น/เผ่าพันธุ์ 2) บริบททางสังคม/วัฒนธรรม และการผสมผสานการสื่อทางวัฒนธรรมทั่วโลกที่ปรากฏในการ์ตูนวันพีซ แบ่งเป็น 2.1) ด้านวิถีชีวิต ได้แก่ มารยาทและการทักทาย การประกอบอาชีพ พิธีการและพิธีกรรมต่าง ๆ 2.2) ด้านความเชื่อ ได้แก่ ศาสนา เทพเจ้า เรื่องเล่า/นิทานปรัมปรา โหราศาสตร์/โชคลาง ภูตผี/วิญญาณ/สัตว์ในตำนาน 2.3) ด้านจารีตประเพณี ได้แก่ การแต่งกาย/ เครื่องประดับ การละเล่น/การแข่งขัน เทศกาล ดนตรี/ศิลปะการแสดง 2.4) ด้านวัตถุและสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ยานพาหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ สิ่งปลูกสร้าง/สถานที่ และ 3) รูปแบบการสื่อสารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการ์ตูนมังงะวันพีซ ในการสร้างมูลค่าความเป็นการ์ตูนยอดตีพิมพ์อันดับ 1 ของโลก มีดังนี้ 3.1) เป็นการ์ตูนลายเส้นที่มีรายละเอียดสูง 3.2) การสร้างกรอบการ์ตูนไม่เป็นไปตามสูตรการ์ตูนต่อสู้ มีการแบ่งกรอบที่ค่อนข้างละเอียด แต่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และมีการกระจายบทตัวละครที่ทั่วถึง 3.3) การวาดมุมมองภาพที่แปลกแตกต่าง โดยเฉพาะการนำเสนอเทคนิคการวาดหน้าคู่


                จากข้อสรุปการวิจัย การ์ตูนวันพีซเป็นการ์ตูนที่สร้างจากข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์ของโจรสลัดในยุคทอง สภาพสังคมและวัฒนธรรมในยุคล่าอาณานิคม ผสมผสานวัฒนธรรมในพื้นที่อื่น ๆ และจินตนาการยุคสมัยใหม่จากความสร้างสรรค์จาก เออิจิโร โอดะ ผู้แต่ง จนได้รับการยอมรับทั้งในแง่การสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องที่นำไปสู่ผู้อ่านทำให้เป็นที่นิยมมากกว่า 25 ปี จนได้ชื่อว่าเป็นการ์ตูนที่ได้รับการ ตีพิมพ์มากที่สุดในโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เสราดี. (2551). ความเป็นไทยที่ถ่ายทอดผ่านการ์ตูนญี่ปุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). อินทนิล.

เกรียงไกร พัฒนกุลโกเมธ. (2549). แนวคิด บริบททางสังคม และบริบททางวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์การ์ตูนของสตูดิโอจิบลิ

[วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา. (2565). จารีตประเพณี หรือ tradition. https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/149

จารุณี สุขชัย. (2550). มิติความเป็นไทยในหนังสือการ์ตูนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันวา ใจเที่ยง, ธรรมวิมล สุขเสริม, และ ปรีชาเปี่ยม พงศ์สานต์. (2555). ประวัติศาสตร์แห่งชนชั้นและความเหลื่อมล้ำทางภาษาวัฒนธรรมชนชาติพื้นเมืองในสังคมลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(1), 126-145.

นันท์มนัส นิธิภัทรอนันต์. (2561). การศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องการ์ตูนเรื่องวันพีซ. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 22(1), 240-249.

นับทอง ทองใบ. (2555). กลวิธีการเล่าเรื่องและการสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บรรณกร จันทรทิณ. (2563). ความคิดทางการเมืองในหนังสือการ์ตูนเรื่อง “วันพีซ” ของเออิจิโระ โอดะ. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, 7(1), 35-54.

ปุณณิศา สิโรตมาภรณ์. (2552). การถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานผ่านหนังสือการ์ตูนหนูหิ่นอินเตอร์ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัญจกร นิลกาญจน์. (2561). วัฒนธรรมความเชื่อ กับการจัดการศรัทธาของชุมชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(2), 11-20.

วรรณพร อนันตวงศ์. (2561). การประกอบสร้างชุมชนคีรีวงให้กลายเป็นสินค้าในกระแสการท่องเที่ยว [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมสุข หินวิมาน. (2551). หน่วยที่ 13 ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).ใน ประมวลสาระชุดวิชา ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร

หน่วยที่ 8-15 (น. 369-444). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สมสุข หินวิมาน, และกำจร หลุยยะพงศ์. (2553). หน่วยที่ 13 พฤติกรรมการสื่อสารโลกาภิวัฒน์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและ

พฤติกรรมการสื่อสาร (น. 345-388). อรุณการพิมพ์.

สมาน อู่งามสิน. (2560). รำลึก 52 ปี การจากไปของ นักสู้อเมริกัน มุสลิมผิวดำ "มัลคอม เอ็กซ์" (MALCOM X). วารสารรูสมิแล, 38(3), 71-88.

สำนักข่าวซินหัวไทย. (2564). ชาวอิหร่านฉลองเทศกาลแห่งไฟต้อนรับวันปีใหม่. https://www.xinhuathai.com/inter/185993_20210317

อนันตชัย เลาหะพันธุ์. (2550). ระบอบการปกครองแบบฟิวดัลกับวิถีแห่งขุนนางและอัศวินสมัยกลาง. วารสารปาริชาติ, 19(2), 1-14.

โอดะ เออิจิโระ. (2542). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2542). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2542). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2544). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ, เออิจิโระ. (2544). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2544). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 19). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2544). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 20). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2544). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2545). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 22). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2545). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 23). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2551). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 49). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2551). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 51). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2551). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 52). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

โอดะ เออิจิโระ. (2552). วันพีซ One Piece (เล่มที่ 53). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์คอมิกส์.

BBC News Thai. (2022). มาร์ติน ลูเธอร์ คิง : นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ. https://www.bbc.com/thai/international-59983854

Hayward, P. and Kuwahara, S. (2014). Takarajima: A Treasured Island Exogeneity, folkloric identity and local branding. Journal of Marine and Island Cultures, 2014(3), 20-30.

Horn, M. (1999). The World Encyclopedia of Cartoons. University of California: Chelsea House.

Japan Data (2018, Sep 6). Anime Industry Revenues Top ¥200 Billion. https://www.nippon.com/en/features/h00279/

Joyce, C. (2006). Using concept cartoons for assessment. http://arbs. nzcer.org.nz/strategies/cartoons.php.

Marketingoops. (2563). เปิดเบื้องหลังกระบวนการปั้น “ONE PIECE” ฮิต 20 ปี! ทั้ง Animation-ยอดขายกว่า 460 ล้านเล่ม. https://www.

marketingoops.com/media-ads/one-piece-japanese-manga-series-and-animation-key-success-factors/

Oda, E. (2022). One Piece Volume 43 Chapter 418. https://coloredmanga.com/mangas/big-one-pieces/volume-43/chapter-418-luffy-

vs-rob-lucci/

Oda, E. (2022). One Piece Volume 53 Chapter 515. https://coloredmanga.com/mangas/big-one-pieces/volume-53/chapter-515-

adventure-on-the-island-of-women/

Oda, E. (2022). One Piece Volume 59 Chapter 574. https://coloredmanga.com/mangas/big-one-pieces/volume-59/chapter-576-the-

great-pirate-edward-newgate/

Oda, E. (2022). One Piece Volume 59 Chapter 576. https://coloredmanga.com/mangas/big-one-pieces/volume-59/

chapter-576-the-great-pirate-edward-newgate/

Oda, E. (2022). One Piece Volume 63 Chapter 626. https://coloredmanga.com/mangas/big-one-pieces/volume-63/

chapter-626-neptune-brothers/

Podsatiangool, W. (2017). Why Do Americans Say No to Doraemon?: Examining Power Relations Between American and Japanese Popular Culture in Intercultural Communication through the Lens of Semiotics. Journal of English Studies, 12(2), 71–105.

Swatman, R. (2015). Japanese manga One Piece sets record for most printed comic series by one author ever. https://www.

guinnessworldrecords.com/news/2015/6/japanese-manga-“one-piece”-is-most-printed-comic-series-by-one-author-ever-385868