การพัฒนาและประเมินกระบวนการการสื่อสารการบริการ ศูนย์บริการยางและรถยนต์ ควิกเลน เชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการการสื่อสารการบริการของสถานประกอบการ เพื่อสร้างกระบวนการการสื่อสารการบริการเพื่อยกระดับการบริการ และเพื่อกระบวนการการสื่อสารการบริการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ซ้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานและเจ้าของบริษัท 8 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการณ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าจำนวน 385 คน ด้วยแบบสอบถาม
ผลการศึกษา จากปัญหากระบวนการทำงานสื่อสารบริการตามแบบจำลองการสื่อสารของ เดวิด เคเบอโลของสถานประกอบการพบว่า ทักษะในการสื่อสาร และระดับความรู้ เป็นปัญหาสำคัญ จึงมีวางกรอบการออกแบบกระบวนการการการบริการที่เน้นการสื่อสาร คือ เพิ่มรูปแบบการทักทายเพื่อสร้างการจดจำ เพิ่มการสื่อสารแนะนำการบริการที่ชัดเจนและครอบคลุม เพิ่มการสื่อสารการบริการหลังให้บริการ 30 นาที เพิ่มการสื่อสารสร้างความประทับใจในการบริการทับซ้อน ล่าช้า เพิ่มการติดตามผลด้วยแบบประเมินผลการให้บริการ ได้ผลผลิตคือ กระบวนการการสื่อสารการบริการแบบมีส่วนร่วม และคู่มือการใช้กระบวนการ ผลการนำไปใช้ พนักงานประเมินกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเข้ากันได้กับวิถีการทำงานที่เป็นอยู่ และมีความไม่ยุ่งยากซับซ้อน 7 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประเด็นการเปรียบเทียบด้านประโยชน์เชิงเปรียบเทียบได้ 9 คะแนน มีจำนวนผู้กลับมาใช้ซ้ำอันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการในช่วงดำเนินโครงการเฉลี่ย 6-9 ราย เจ้าของบริษัทประเมินผลกระบวนการ ประเด็นความเข้ากันได้กับวิถีการทำงานที่เป็นอยู่ 9 คะแนน ประเด็นความไม่ยุ่งยากซับซ้อน และประเด็นการเปรียบเทียบด้านประโยชน์เชิงเปรียบเทียบได้ 8 คะแนน มีจำนวนผู้กลับมาใช้ซ้ำอันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการในช่วงดำเนินโครงการเฉลี่ย 7 ราย ลูกค้าพึงพอใจต่อการสื่อสารบริการ ค่าเฉลี่ย 4.83 ตั้งใจที่จะกลับมาใช้ซ้ำค่าเฉลี่ย 4.69 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ซ้ำคือความสะดวกและประหยัดเวลาร้อยละ 65.20
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
ภาษาไทย
เกษราภรณ์ งามสุวรรณฉาย,ผศ.ดร.ชุติระ ระบอบ,และดร.พิษณุ วรรณกูล. (2564). การพัฒนาทักษะการสื่อสารของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 14-26.
คมสัน โรจนาวิไลวุฒิ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการร้านขนมหวานคริสพีเครป. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ปัญญาพล จันทร์ผ่องและวอนชนก ไชยสุนทร. (2561). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของโชว์รูมรถยนต์ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารการบริหารและการจัดการ, 8(2), 107-124.
รจิตลักขณ์ แสงอุไร. การสื่อสารของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด, 2548.
รักษ์ วรกิจโภคาทร. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2548). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สุกานดา นาคะปักษิณ, 2562. สิบรูปแบบการสร้างนวัตกรรม หลักการสร้างพัฒนาการที่ยิ่งใหญ่. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1 (3), 65-70.
Affde. (2564). 20 ตัวอย่างบริษัทที่มีการบริการลูกค้าที่ดีที่สุด. สืบค้น 30 มกราคม 2565, จาก https://www.affde.com/th/companies-with-the-best-customer-service.html
Courtney Gupta, Customer Service Enthusiast. (2564). นิยามของการบริการลูกค้า ทักษะ และปัจจัยคุณภาพที่สำคัญสำหรับปี 2021. สืบค้น 30 มกราคม 2565, จาก https://www.zendesk.com/th/blog/customer-service-skills/
ภาษาอังกฤษ
Drucker,P.F. (1985). The Discipline of Innovation. Harvard Business Review. 68(4), pp. 67-72.
Everett M. Rogers. (2010). Diffusion of Innovation. 4th Ed. New York: Free Press.
Everett M. Rogers & F. Floyd Shoemaker. (1971). Communication of Innovations; A Cross-Cultural
Approach. New York: The Free Press.
Rogers, E. M. (1976). Communication in Organizations. New York: The Free Press.
Kanungo, R.N. (1 9 9 9). Entrepreneurship and Innovation: Models for Development. London: Sage Publications.
Zhao, F. (2001). Managing Innovation and Quality of Collaborative R&D. I n t e r n a t i o n a l & 8t h
National Research conference. Melbourne.