การสื่อสารการตลาดการโฆษณาตรงและโฆษณาแฝง ผ่านเฟซบุ๊กเพจ กรณีศึกษา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

Main Article Content

พิมพ์ปพิชญ์ เมธีโชติธนา
ทิวา พาร์ค

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการสื่อสารการตลาดการโฆษณาตรงและแฝง ผ่าน Facebook Page กรณีศึกษา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเลือกทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามรูปแบบสัมภาษณ์ผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าที่มาซื้อสินค้าและมีการติดตามหรือเป็นสมาชิกของช่องทางการสื่อสารของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์หรือมีประสบการณ์จากการเห็นโฆษณาผ่าน Facebook Page ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่อยู่ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์โดยเลือกสัมภาษณ์  จำนวน 5 คน  ผลการวิจัย พบว่าการศึกษาประเภทเนื้อหาการตลาดการโฆษณาตรงและแฝง ผ่าน  Facebook Page ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบว่า มีจำนวน 5 ประเภท ซึ่งประเภทที่จำนวนครั้งปรากฏสูงสุด คือ ประเภทของเนื้อหาการนำเสนอสินค้า ส่วนประเภทของเนื้อหาที่มีจำนวนปรากฏน้อยที่สุด คือ ประเภทของเนื้อหาประชาสัมพันธ์แคมเปญและประเภทเนื้อหาประชาสัมพันธ์ศูนย์การค้าและผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของการนำเสนอเนื้อหาการโฆษณาแฝง ผ่าน Facebook Page พบว่า ประเภทเนื้อหาประชาสัมพันธ์อีเวนต์ จะมีจำนวน Total Engage สูงสุด คือ 57,889 รองลงมาจะเป็นประเภทเนื้อหาใช้ผู้มีอิทธิพล (Influencer) ในการนำเสนอสินค้าหรือบริการ จำนวน Total Engage คือ 49,095 และเนื้อหารูปแบบเนื้อหาประชาสัมพันธ์ศูนย์การค้า จำนวน Total Engage คือ 29,066 ตามลำดับ โดยมีเหตุผลเนื่องจากการสื่อสารประเภทเนื้อหาประชาสัมพันธ์อีเวนต์จะมีเนื้อหาหรือหัวข้อที่น่าสนใจหรือสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจ และเมื่อผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าสนใจจึงทำให้เกิดการบอกต่อ เช่น การกด Like, Share เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก ลออ. (2560). โฆษณาแฝงบนสื่อวิดีโอออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กรณีศึกษา Facebook fan page. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เจน่าห์ เลนน์ พาร์เมลี. (2562). เปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อโฆษณาประเภทวิดีโอระหว่างโฆษณาประเภทขายแฝง และประเภทขายตรง ระหว่างกลุ่มนักศึกษาจบใหม่และกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยชำระเงินโฆษณาผ่านกูเกิล (Google Ads) กรณีศึกษาคอร์ส “Interview in English Like-a-Pro” บนช่องยูทูบ Exchanges with Jeynah. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณธีภัสร์ ดิษยาไตรพัฒน์. (2563). การศึกษาประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของการโฆษณา

ผ่านเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม กรณีศึกษา Collude Clothes. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณพัฐอร ฐิติฐาน์เดชน์. (2564). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลบน Facebook Ads และ Google Ads: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เอสเซนซ์บำรุงผิว บริษัท เฟซแลบส์ (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 1-16.

นุชนาถ ฮัดเจสสัน. (2556). การรับรู้โฆษณาแฝงบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) ของคนวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(2), 374-391.

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์. (2561). รูปแบบของโฆษณาแฝงและการรับรู้ของผู้ชมในคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ 7. บทความวิจัยวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(ฉบับเสริม), 70-81.

ปกรณ์ เอี่ยมศิรินพกุล. (2560). การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารใน Facebook Fanpage ของสถาบันสอนภาษาอังกฤษ Globish English School. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวรรศ จันทร์เพ็ญ. (2564). กลยุทธ์ใหม่กับโฆษณาแฝงในปัจจุบัน. สืบค้นจาก http://www. commartsreview.siam.edu/2017/images/review/year12-vol13/year12-vol13-11.pdf.

พลอยไพลิน ตองอ่อน. (2559). การวิเคราะห์เนื้อหาสารประชาสัมพันธ์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของร้าน เคนทักกีฟรายด์ชิกเคน ประเทศไทย (KFC). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แพรพิม จิราพัชรสิน. (2563). การรับรู้และการจดจำโฆษณาแฝงที่มีต่อสินค้าน้ำแร่มิเนเร่ ด้วยเทคโนโลยี Eye-Tracking. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาวินี สุจริตสาธิต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์อินสตาแกรม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มุทิตา วรรณทิม. (2561). เปรียบเทียบประสิทธิผลการโฆษณาของแพลตฟอร์มที่มีผลต่อการมี

ส่วนร่วมของทันตแพทย์ ผ่านกูเกิล (Google Ads) และเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) กรณีศึกษา E-Marketplace ชื่อ “DentalGather” ภายใต้บริษัท เดอะ คอลแลบครีเอท จํากัด. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รัชชานนท์ ศรีอุดมพร. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Page ประเภทสินค้า Gadget: กรณีศึกษาเนื้อหา (Content) ที่สามารถดึงดูดให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ และสนใจในสินค้า. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รัทยา เจริญรูป. (2562). การรับรู้สื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินซื้อสินค้าแฟชันของผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษาในจังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์. (2554). แรงจูงใจและปัจจัยทางการตลาดบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรวี เฉกไพชยนต์. (2563). ประสิทธิผลของการโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มกูเกิล (Google Ads) สำหรับช่องทางการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทางการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ กรณี ศึกษาแบรนด์เครื่องสำอางพรีเมียมจากประเทศเกาหลี “3CE” ในเว็บไซต์ “Beauty Korea House”. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. สืบค้นจาก https://kasikornresearch. com/th/analysis/k-econ/business.

สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. (2564). โฆษณาแฝงคืออะไร. สืบค้นจาก http://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2017-01-25-17-43-28.

สิรภัทร ลาภวิไลพงศ์. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่อ Facebook Fanpage ในการแสวงหาสถานที่ ท่องเที่ยวของประชากรในเขกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2563). สื่อโฆษณาแฝงในการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีผลต่อการดื่มและการรู้เท่าทันสื่อขอเยาวชนระดับอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วารสาร SIAM COMMUNICATION REVIEW, 19(1), 55-67.

อรรถชัย วรจรัสรังสี. (2556). ประเภทเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Accesstrade. (2020). 7 หลักการตลาดที่สำคัญในยุคดิจิทัล 2021. สืบค้นจาก https://accesstrade.in.th/?s= =หลักการตลาด.

admin.indigital. (2562). วิธีโพสต์ Instagram เพื่อแชร์เนื้อหาทีละขั้นตอน. สืบค้นจาก https://www.indigital.co.th/ig25-12/.

CentralWorld. (2563). ข้อมูลศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์. สืบค้นจาก https://www.central world.co.

CentralWorld. (2564). Facebook Fanpage. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/ centralworld.

Digital Marketing. (2021). สืบค้นจาก https://vtacecommerce. com/blog/business/การตลาดดิจิทัลคืออะไรแ/.

Digital Thailand. (2563). สถิติดิจิทัลของประเทศไทยจาก DIGITAL THAILAND ประจำปี 2020. สืบค้นจาก https://blog.ourgreenfish.com.

eukeik. ee. (2020). ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่สื่อออนไลน์ครองโลก. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/139073.

Eslinger, T. (2014). Mobile magic: The Saatchi & Saatchi guide to mobile marketing. New Jersey, NJ: John Wiley & Sons.

Greenberg, E., & Kates, A. (2014). Strategic digital marketing. USA: McGraw Hill.

Ms.นกยูง. (2563). เม็ดเงินโฆษณาต่ำสุดในรอบ 10 ปี ‘นีลเส็น’ เผย Insight คนไทย ฟังวิทยุ – ดูทีวี – ใช้เน็ตมากขึ้น ช่วงล็อกดาวน์เป็นเหตุสังเกตได้. สืบค้นจาก https://www.marketing oops.com/author/piyubon/.