ภาพตัวแทนความรักของชายรักชายในละครซีรีย์วายไทย

Main Article Content

กฤชณัท แสนทวี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการประกอบสร้างความเป็นจริงภาพตัวแทนความรักของชายรักชายในซีรีย์วายไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้รับสารที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการด้านการสื่อสาร ทำการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและตีความหมายข้อมูลด้วยตัวผู้วิจัย ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า ซีรีย์วายไทย 1) นำเสนอภาพตัวแทนความรักแบบชายรักชายทั้งสิ้น โดยไม่ปรากฏความรักของกลุ่มหญิงรักหญิง 2) มักมีมุมมองในการนำเสนอเนื้อหาแบบคนนอก (Etic) เนื่องจากบทประพันธ์ดั้งเดิมส่วนใหญ่นั้นมักถูกแต่งขึ้นโดยนักเขียนที่เป็นเพศหญิง 3) นำเสนออัตลักษณ์ของพระเอกและนายเอกที่มีความชัดเจน ทำให้ผู้ชมรับรู้ว่าฝ่ายใดเป็น “เมะ” และฝ่ายใดเป็น “เคะ” 4) ยังไม่สามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนทางสังคมในประเด็นความหลากหลายทางเพศให้กับสังคมไทยได้ 5) ทำให้คนในสังคมส่วนหนึ่งเริ่มยอมรับการมีอยู่และการมีตัวตนของชายรักชายในสังคมไทยมากขึ้น ส่งผลให้ชายรักชายส่วนหนึ่งกล้าที่จะ “ก้าวออกมาจากตู้เสื้อผ้า” 6) ได้รับอิทธิพลจากความรักของชายและหญิงตามบรรทัดฐานทางสังคม แต่มีการสร้างอุดมการณ์ชุดใหม่ด้วยยอมรับอุดมการณ์ทางเลือกว่ามีความเท่าเทียมและไม่แตกต่างไปจากอุดมการณ์หลัก และนำไปสู่การเป็น “อุดมการณ์ที่เท่าเทียม” 7) นำเสนอความรักแบบโรแมนติก (Romantic love) ซึ่งเป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดและความเสน่หาของตัวละครชายรักชาย และรักสมบูรณ์แบบ (Consummate love) เป็นรักที่มีทั้งสามองค์ประกอบทั้งความเสน่หา ความใกล้ชิดและความผูกมัด ด้วยการแสดงสัญญาใจที่มีต่อกันและกันและจะรักกันตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2563). การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีย์วาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะ นิเทศศาสตรและนวัตกรรมการจัดการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เจษฎา ขัดเขียว และอรทัย เพียยุระ. (2561). เพศวิถีในวรรณกรรมเกย์ออนไลน์. รายงานการประชุมวิชาการผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชีรา ทองกระจาย. (2561). ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ. เอกสารการสอนประจำชุดวิชาการพัฒนามนุษย์ใน บริบทโลก หน่วยที่ 5, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

ไชยศิริ บุญยกุลศรีรุ่ง, (2553). เพศสภาพและเพศวิถีชายรักชายในภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศ ศาสตร์มหาบัณฑิต,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัทธนัย ประสานนาม. (2563). การเว้นระยะห่างทางเพศสถานะ: นวนิยายยาโออิของไทยในการเมืองเรื่องขนบวรรณกรรมกับ การตีความ.วารสารศาสตร์, 13(3), 160-187.

นุชเนตร กาฬสมุทร์ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศของกล่มชายรักชาย: กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสาร วิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 9(1), 56-67.

นุชณาภรณ์ สมญาติ. (2561). ซีรีส์วาย (Y): ลักษณะเฉพาะและการนำเสนอความรักของชายรักชาย. รายงานการ ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. โครงการส่งเสริมสิทธิความหลากหลายและความเท่า เทียมในโลกของการทำงาน (PRIDE). กรุงเทพฯ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

พัฒนพล วงษ์ม่วง และ มยุรี ศรีกุลวงศ์. (2559). ตัวละครเกย์ในละครโทรทัศน์ไทยยุคใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 2(2), 96-109.

ภัชรพรรณ์ อมรศรีวงษ์ และบัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. (2562). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของสาววาย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(1), 34-49.

มาร์ติน ฮาร์ท-แฮนเซ่น. (2560). สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง: การทำงานร่วมกับสื่อในประเด็นเพศวิถีอัตลักษณ์ทางเพศสถานะ การแสดงออกและลักษณะทางเพศในประเทศไทย. บทนำ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวรัฐ หาญพานิช. (2560). ความเป็นชายที่มีอำนาจนำและความสัมพันธ์ทางเพศสถานะในโฆษณารถที่ออกอากาศทาง โทรทัศน์ พ.ศ. 2558 – 2559. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยสหวิทยาการ. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สิริวัฒน์ มาเทศ. (2553). อิสตรีที่มีความพยาบาทในละครโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวารสาร ศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรสุธี ชัยทองศรี. (2560). Boys Love Manga and Beyond: History, Culture, and Community in Japan. วารสาร มนุษยศาสตร์, 24(2), 344-359.

ภาษาอังกฤษ

Sternberg, R. J. (1986). A triangular theory of love. Psychological Review, 93(2),119-135.

สื่อออนไลน์

ปรเมศวร์ กุมารบุญ, (2064). ทฤษฎีความรัก (Theory of Love) กับ Poramez's love life cycle Model. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564. https://www.gotoknow.org/posts/618576