การรับชมมิวสิควิดีโอศิลปินวงบีทีเอส ต่อการรับรู้คุณค่าตนเองและพฤติกรรมการแสดงออกของแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย

Main Article Content

สุกัญญา สำราญจิตร
พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS การรับรู้คุณค่าตนเองและพฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าของตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย 2) ความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยและการรับรู้คุณค่าตนเอง 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยและพฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเอง และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าตนเองและพฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย อายุตั้งแต่ 18 ขึ้นไป ที่เคยฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ของศิลปินวง BTS อย่างน้อยเพลงใดเพลงหนึ่งในจำนวนผลงานเพลงทั้งหมดของศิลปินวง BTS ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 – 2021 จำนวน 400 คน


ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS ที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. เพศที่แตกต่างกันมีความถี่ ความเข้าใจในเนื้อหาของเพลง และสภาพอารมณ์เชิงบวกในขณะที่รับฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) แตกต่างกัน 2. อายุที่แตกต่างกันจะมีระยะเวลาสะสมที่รู้จักและฟังเพลง และความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านบวกขณะรับฟังเพลงแตกต่างกัน และ 3. ระดับความรู้ภาษาเกาหลีที่แตกต่างกันจะมีความถี่ และระยะเวลาสะสมที่รู้จักและฟังเพลงแตกต่างกัน แต่มีเพียงระดับการรู้จักศิลปินวง BTS ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) 2) พฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย ได้แก่ ความเข้าใจในเนื้อหาของเพลงและมิวสิควิดีโอ (MV) ความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านบวกและด้านลบขณะรับฟังเพลง โดยมีความสัมพันธ์ระดับต่ำมาก กล่าวคือ เมื่อมีความเข้าใจในเนื้อหาของเพลงและมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS เพิ่มขึ้น การรับรู้คุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อมีความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านบวกขณะรับฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS เพิ่มขึ้น การรับรู้คุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านลบขณะรับฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS เพิ่มขึ้น การรับรู้คุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยก็จะลดลง แต่ความถี่ และระยะเวลาสะสมที่รู้จักและฟังเพลง ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าตนเอง 3) พฤติกรรมการฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย ได้แก่ ความเข้าใจในเนื้อหาของเพลง และความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านบวกขณะรับฟังเพลง โดยมีความสัมพันธ์ระดับต่ำมาก กล่าวคือ เมื่อมีความเข้าใจในเนื้อหาของเพลงและมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านบวกขณะรับฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอ (MV) ศิลปินวง BTS เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้น แต่ความถี่ ระยะเวลาสะสมที่รู้จักและฟังเพลง และความบ่อยครั้งของสภาพอารมณ์ด้านลบขณะรับฟังเพลงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเอง และ 4) การรับรู้คุณค่าตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง กล่าวคือ เมื่อมีการรับรู้คุณค่าตนเองเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกในคุณค่าตนเองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือและบทความทางวิชาการ

กิติมา สุรสนธิ. (2548). ความรู้ทางการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์: แนวคิดและตัวอย่างการวิจัย. คณะนิเทศศาสตร์,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และ สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562).

วิทยานิพนธ์

กนกวรรณ พันสิทธิวรกุล. (2558). กระบวนการผลิตเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณาขนมขบเคี้ยวที่คัดสรร.
(นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
จิรพัฒน์ ศรีสุข. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความนับถือตนเองกับความมุ่งมั่นในงานของตำรวจปราบปราม
ยาเสพติดกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม.
ชานนท์ โกมลมาลย์. (2551). การใช้แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์:
ศึกษาเฉพาะกรณีผู้รับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นนตพันธ์ เทียนทอง. (2555). ปัจจัยทางการตลาดที่ผู้บริโภคใช้ประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อสุขภัณฑ์ของ
ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
นวนนริศ พวงเงิน. (2558). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าศิลปินเกาหลีบนอินเทอร์เน็ทผ่านทางทวิตเตอร์ที่ส่งผลต่อ
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาสพล โตหอมบุตร. (2558). บทบาทเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตของไมค์ ภิรมย์พร ในการสื่อสารถ่ายทอดวัฒนธรรมและ
วิถีชีวิตชนชั้นแรงงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รมิตา สาสุวรรณ์. (2560). การเปิดรับกับทัศนคติ และพฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลีของผู้ชมในเขต
กรุงเทพมหานคร. (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และ
สื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน.
วรุตม์ มีทิพย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความซื่อสัตย์ภักดีต่อศิลปินเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับชาวไทยใน
กรุงเทพมหานคร. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์.
วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา. (2546). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความภูมิใจตนเองของนักศึกษาระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรม. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา,
สาขาเทคโนโลยีวิจัยการศึกษา.
อัจฉรา นพวิญญูวงศ์. (2550). ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและการให้
ความสำคัญต่อการส่งเสริมการขายเสื้อเชิ้ตบุรุษมีตราสินค้าในตลาดบน. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาการตลาด.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ดี. (2563). 6 เพลง K-pop ที่เลือกอยู่ข้างเรา แม้วันที่ถูกแรง ซึมเศร้า กลืนกิน. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก
https://www.sarakadeelite.com/lite/k-pop-and-depression/
อลิสา ทองหนูนุ้ย. (2555). การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน
2563, จาก https://www.t2sadao.ac.th/?name=research&file=readresearch&id=2
Siri. (2563). กระแส "ความคลั่งไคล้เกาหลี" ในไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563, จาก
https://cities.trueid.net/article/กระแส-ความคลั่งไคล้เกาหลี-ในไทย-trueidintrend_30444