สถานภาพองค์ความรู้การวิจัยด้านภาพยนตร์ระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

วิทยา พานิชล้อเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “สถานภาพองค์ความรู้การวิจัยภาพยนตร์ในระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การใช้ระเบียบวิธีวิจัย และองค์ความรู้งานวิจัยด้านภาพยนตร์ระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า แนวคิด และทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดในงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่ศึกษาด้านการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา กลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่ศึกษาด้านการบริหารยุทธศาสตร์และนโยบาย กลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่ศึกษาด้านการปรับตัวทางธุรกิจ และกลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่ศึกษาเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลของผู้ส่งสาร 2.แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหาสาร ประกอบด้วย กลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่ศึกษาเนื้อหาสารในฐานะงานสร้างสรรค์ และกลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่ศึกษาความหมายและบริบทของเนื้อหาสาร 3.แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับผู้รับสาร ประกอบด้วยกลุ่มแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการรับชมภาพยนตร์และการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ของผู้รับสาร


การใช้ระเบียบวิธีวิจัย พบว่า งานวิจัยภาพยนตร์ระดับบัณฑิตศึกษานิยมใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพพบวิธีการศึกษาเนื้อหา และการสัมภาษณ์เชิงลึกมากที่สุด ส่วนการวิจัยปริมาณพบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจผู้ชมมากที่สุด


องค์ความรู้งานวิจัยด้านภาพยนตร์ พบว่า สามารถจำแนกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรม องค์ความรู้ด้านศิลปะ และองค์ความรู้ด้านปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

ภาษาไทย

กฤษดา เกิดดี. (2543). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

กองบรรณาธิการ Exit Book. (2552). เจาะลึกหลักสูตรภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท

วัฏฏะ คลาสสิ ฟายด์ส จำกัด.

กำจร หลุยยะพงศ์ และสมสุข หินวิมาน. (2552). หลอน รัก สับสนในหนังไทย :

ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ.2520-2547) กรณีศึกษา

ตระกูลหนังผีหนังรักและหนังยุคหลังสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์ศยาม.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้าง : สังคม ผู้คน

ประวัติศาสตร์และชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรระวี มหิธิธรรมธร. (2558). พัฒนาการทางความคิด และการสร้างสรรค์ภาพยนตร์

ของบรรจง ปิสัญธนะกูล. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร

มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชา

นิเทศศาสตร์.

ปรัชญา เปี่ยมการุณและพฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2559). พัฒนาการภาพยนตร์รักของไทย

ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2555. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ,

(2).

ปัทมวดี จารุวร และอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2547). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน

วัฒนธรรม และสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี วัฒนสาคร และธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนา

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2).

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2550). เอกลักษณ์ไทยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งาน

อุตสาหกรรมสารัตถะ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. ศูนย์บริการ

วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอสถาบันศิลปะร่วมสมัย

สำนักงานศิลปะร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

วรรณี สำราญเวทย์. (2551) การศึกษางานวิจัยระดับวิทยานิพนธ์และโครงการเฉพาะ

บุคคลด้านภาพยนตร์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). การบริหารจัดการ

งานอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรม: ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์

การสร้างสรรค์เทคนิคด้านภาพ ศูนย์ศิลป์/ดนตรี งานกวีนิพนธ์/การแต่ง

เพลง. กรุงเทพฯ: บริษัท เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). แนวทางการส่งเสริม

ภาพยนตร์ไทย. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสชิ่ง จำกัด.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร และอรรพร กงวิไล. (2550). สถานภาพองค์ความรู้ของการ

จัดการทางการสื่อสารในประเทศไทย (ภายใต้โครงการ หลักและแนวทาง

การบริหารการสื่อสาร: มิติทั้งสามในด้านการจัดการทางการสื่อสาร การ

บริหารการสื่อสาร และการบริหารงานสื่อสารมวลชน. ทุนสำนักงาน

กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประสิทธิภัณฑ์แอนด์

พริ้นติ้ง.

หนหวย (ศิลปชัย ชาญเฉลิม). (2555). ว่าด้วยหนังฯ ในเมืองบางกอก. หอภาพยนตร์

แห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ลินคอร์น โปรโมชั่น.

หอภาพยนตร์แห่งชาติ (2555). ปูม 25 ปี หอภาพยนตร์แห่งชาติ (2527-2552).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ลินคอร์น โปรโมชั่น.

ภาษาอังกฤษ

Hall, S. (1999). Encoding/Decoding. In Marris, P. and Thornham, S. (Ed.),

Media Studies: A Reader (p.51-61). Edinburgh: Edinburgh

University Press.

Turner, G. (1999). Film as Social Practice. London: Routledge.