กระบวนการมีส่วนร่วมของนักเรียนมัธยมปลายเพื่อสร้างการรู้เท่าทันความรุนแรงในสื่อและการเล่าเรื่องตามแนววารสารศาสตร์เชิงข้อมูล

Main Article Content

สุดถนอม รอดสว่าง
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา
การดา ร่วมพุ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องตามแนววารสารศาสตร์เชิงข้อมูลกับความรู้เท่าทันเนื้อหาความรุนแรงในสื่อของนักเรียนมัธยมปลาย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีกระบวนการแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนการปฏิบัติ (Pre-action phase) และ ช่วงหลังการปฏิบัติ (Post-action phase)


ช่วงก่อนการปฏิบัติ (Pre-action phase) ดำเนินการด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยเฉพาะในเนื้อหาสื่อ และเกี่ยวกับวารสารศาสตร์เชิงข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ การร่างหลักสูตรการอบรม “Young Data Journalists สร้างเยาวชน สร้างนวัตกรรมสื่อ เพื่อสร้างความตระหนักและรู้เท่าทันความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน” และจัดการอบรมดังกล่าว สำหรับช่วงหลังการปฏิบัติ (post-action phase) ดำเนินการภายหลังจากกลุ่มเป้าหมายผ่านกระบวนการอบรมแล้วเพื่อสำรวจ ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ภาพ เสียง และข้อความที่ปรากฏในสื่อต้นแบบที่ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ผลิตขึ้น


ผลการศึกษาพบว่า การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่ใช้แนวคิดวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลมาเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบหลักสูตร ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานจากการใช้ข้อมูลเป็นฐานในการเล่าเรื่อง เพื่อสื่อสารประเด็นความรุนแรงให้กลุ่มเยาวชนและคนในสังคมรับทราบปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไขควบคู่กันไป ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการคิดอย่างมีวิจารณญาณหรือการคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์และผลิตสื่อด้วยความตระหนักรู้ถึงผลของความรุนแรงในเนื้อหาสื่อที่จะมีต่อกลุ่มผู้รับสาร นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงระหว่างการเก็บข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และผลิตสื่อวารสารศาสตร์ข้อมูล (Data Journalism) สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการนี้มีผลในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change Process) กล่าวคือในทุกกระบวนการอบรมและการผลิตสื่อเป็นกิจกรรมที่ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรง ทั้งในฐานะผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ ผู้เห็นเหตุการณ์ และยกระดับให้กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการเป็นผู้ผลิตสื่อลดความรุนแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
นุดี หนูไพโรจน์ และชวพร ธรรมนิตยกุล. (2563). ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อ
ส่งเสริมความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตยระดับมัธยมศึกษา. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24 (1), 146-163.
เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต. (2554). โครงสร้างพาดหัวข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์ไทย: ภาพสะท้อนอุดมการณ์ทางเพศสภาพในสังคมไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 30 (2), 67-82.
ยศนันทน์ แก้วโกมลมาลย์ และ มณฑิรา ธาดาอำนวยชัย. (2561). ความรุนแรงท่ีปรากฏในรายการ I Can See Your Voice Thailand Season 2. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ Graduate school mini-conference 2018.
วิไลวรรณ จงวิไลเกษม. (2560). สื่อ (ไม่) ฆ่า: ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล. วารสารศาสตร์, 10 (3), 153-188.
“สื่อ” กับความรุนแรง. (2564, 24 กรกฎาคม). https://researchcafe.org/rc20255/
สุรีวัลย์ บุตรชานนท์. (2561). บทบาทหน้าที่ของสื่อออนไลน์กับการรายงานข่าวความรุนแรงต่อเด็ก. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17 (23), 34-46.
สำนักข่าวอิศรา. (2555). พบซิทคอม-หน้า 1 นสพ. ยังผลิตซ้ำความรุนแรง-อคติทางเพศ. https://www.isranews.org/thaireform-other-news/18072-violence.html
เอกพล เธียรถาวร. (2559). วารสารศาสตร์ข้อมูลกับการรายงานข่าวของสื่อไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34 (3), 99-115.

ภาษาอังกฤษ
Francis & Bessant. (2005). Targeting innovation and implications for capability development, Technovation, 25(3), 171-183. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0166497204000525
Gray, Jonathan, Bounegru, Liliana, and Chambers, Lucy. (2012). The Data Journalism Handbook: How Journalists Can Use Data to Improve the News. O’REILLy.
Lorenz, Mirko. (2010). Data driven journalism: What is there to learn? Conference materials, based on presentations of participants, August 24, 2010, Amsterdam, The Netherlands. http://mediapusher.eu/datadrivenjournalism/pdf/ddj_paper_final.pdf
Mulgan, G. (2012). The Theoretical Foundations of Social Innovation. In A. Nicholls & A.
Murdock (eds.), Social Innovation: Blurring Boundaries to Reconfigure Markets (pp. 33-
65). Palgrave Macmillan.
Napoli, P. M. (2009). Media Economics and the Study of Media Industries. In J. Holt & A. Perren
(eds.), Media Industries: History, Theory, and Method (pp. 161-170). West Sussex:
Blackwell Publishing.
Reca, A. A. (2006). Issues in Media Product Management. In A. B. Albarran, S. M. Chan-
Olmsted& M. Wirth (eds.), Handbook of Media Management and Economics (pp. 181-
201). Lawrence Erlbaum Associates.