กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักโฆษณามืออาชีพ

Main Article Content

ศิโรช แท่นรัตนกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักโฆษณามืออาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา และศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณา รวมไปถึงการสร้างลักษณะเฉพาะของการสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักโฆษณามืออาชีพ


ผลการวิจัยพบว่า นักโฆษณามืออาชีพมีวิธีพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แบ่งได้เป็น 2 วิธีการสำคัญดังนี้ 1). หลักการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของงานโฆษณา และ 2) ขั้นตอนในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา โดยวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์งานโฆษณานั้นมีพื้นฐานสำคัญคือการวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับข้อมูลพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ 1. วิเคราะห์ข้อมูลของตัวสินค้า 2. วิเคราะห์ข้อมูลด้านการแข่งขัน 3. วิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมผู้บริโภค และวิธีการที่ 2). ขั้นตอนในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1. การทำความเข้าใจโจทย์ 2. การสร้างสรรค์แนวคิดโฆษณา 3. กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณา


สำหรับศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณานั้น นักโฆษณามืออาชีพส่วนใหญ่นิยมใช้กลยุทธ์แบบการวางตำแหน่งสินค้า (Product Positioning) คือ ความพยายามในการหาจุดครองเนื้อที่ในจิตใจของผู้บริโภค และกลยุทธ์แบบการสร้างอารมณ์ ความรู้สึก (Affective) สุดท้าย คือ กลยุทธ์แบบการเชื่อมโยงประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย (Resonance) หรือ การนำประสบการณ์เก่าของผู้บริโภคออกมาเชื่อมโยงกับตัวผลิตภัณฑ์ ส่วนวัตถุประสงค์สุดท้าย คือ การสร้างลักษณะเฉพาะของการสร้างสรรค์งานของนักโฆษณามืออาชีพนั้นต้องอาศัย 3 ประเด็นสำคัญดังนี้ 1. ลักษณะเฉพาะตัว (Identity)  2. การมุ่งสู่ความสำเร็จ (Passion) 3.การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ (Self-Development) ในการสร้างลักษณะเฉพาะของนักโฆษณามืออาชีพ

Article Details

How to Cite
แท่นรัตนกุล ศ. (2021). กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักโฆษณามืออาชีพ. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 9(2), 162–185. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/254408
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กาลัญ วรพิทยุต. (2562). การโฆษณากับการปรับตัวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4.0.
งานวิจัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ
คงเดช กี่สุขพันธุ์. (2557). เสพข่าวบนโซเชียลมีเดียอย่างไรไม่ให้ถูกครอบงำ. [ระบบออนไลน์]. วันที่ 20 มกราคม 2557.
แหล่งที่มา http://www.ryt9.com/s/iqry/1819351. สืบค้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา. (2552) เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และผลิตสิ่งโฆษณา หน่วย ที่ 1-7
(พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก.
ปีที่ 15(3). กันยายน – ธันวาคม 2557.
ณภัคอร ปุณยภาภัสสร. (2553). AIDA Model. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://punyapapassorn.blogspot.com/2010/08/aida-model.html/. (สืบค้นวันที่ 22 กันยายน 2563)
ผู้จัดการรายวัน 360. (2559). แนะนักการตลาดรับมือนักโฆษณา 4 กลุ่มใหม่. [ระบบออนไลน์].วันที่ 7
กันยายน 2559. แหล่งที่มา https://mgronline.com/business/detail/9590000090076.
สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2563.
พิชญา นิวิตานนท์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2557). แนวทางการคิดสร้างสรรค์โฆษณาในสื่อดิจิทัล. วารสารการสื่อสาร
และการจัดการนิด้า. ปีที่ 1(2). พฤษภาคม – สิงหาคม 2558.
วรรณรุจ มณีอินทร์ และ สุธาทิพย์ หอมสุวรรณ. (2555). กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณา.
รายงานการวิจัย/รายงานสัมมนา/ประชุมวิชาการ (Proceeding). มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
วรลักษณ์ ตันติมังกร. (2549). กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณากับแนวคิดการสื่อสารการตลาด
แบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.
เสรี วงษ์มณฑา (2540) การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ : บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด.
สิริชัย ดีเลิศ. ( 2556). อัตลักษณ์แห่งตัวตนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในมุมมองของอาจารย์กลุ่มศิลปะ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.
ปีที่ 6(3). เดือนกันยายน – ธันวาคม 2556.
สิรินภา เจริญศิริ. (2543). การวิเคราะห์กลยุทธ์สร้างสรรค์ในงานโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์. วิทยานิพนธ์.
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Amabile, T.M. (1999). How to kill creativity. In HarvardBusiness Review on Breakthrough Thinkng. Boston, MA:
Harvard Business School Press, p.1-28
Belch, George E. and Belch, Michael A. (1995). Introduction to Advertising and Promotion: An Integrated
Marketing Communications Perspective. Boston,Mass : Richard D.Irwin, Inc.
Bovee, L. C., Thill, V.J., & Wood, M.B. (1995). Advertising Excellence. New York: McGraw-Hill.
Drewniany, B. L., & Jewler, J. (2014). Creative strategy in advertising (11th ed.). Boston, MA: Wadsworth.
E. St. Elmo Lewis. (1898). The AIDA Model & Elias St. Elmo Lewis. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://www.dragon360.com/blog/who-created-aida/.
Frazer, C. F. (1983). Creative strategy: A management perspective. Journal of Advertising, 12(4), 36-41.
Guilford, J.P. (1980) “Cognitive Styles: What are they?”. Journal of Educational and Psychological Measurement. 40,
p.715-735.
Kotler, p. (1997). Marketing Management analysis, planning, implementation and control. (9th ed). Englewood
Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Moriaty, Sandra Ernst. (1991). Creative advertising: Theory and Practice. (2nd). Englewood Cliffs, N.J: Prentice-
Hall.
Ogilvy, David. (2004). Confessions of an advertising man. London: Southbank Publishing.
Well, William, Burnett, Jhon & Moriarty, Sandra. (2000). Advertising principles and practice. (5th ed). Englewood
Cliffs, New Jersey: NJ: Prentice-Hall.
Young. James W. A. (1975). Technique for Producing Ideas. Chicago, Illinois: Crain Communication,