ผีผู้ชายกับความอ่อนแอของความเป็นชายในสังคมปิตาธิปไตยไทย กรณีศึกษา ภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมผี (2545) เดอะเลตเตอร์ เขียนเป็นส่งตาย (2549) และ ผีไม้จิ้มฟัน (2550)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนของผีผู้ชายที่ปรากฏในภาพยนตร์ผีไทย เพื่อชี้ให้เห็นมุมมองความอ่อนแอของความเป็นชายในสังคมปิตาธิปไตยแบบไทย ผ่านตัวบทภาพยนตร์ผีไทยคัดสรรที่มีตัวละครผีผู้ชายเป็นตัวละครผีหลักจำนวน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ โรงแรมผี (2545) กำกับโดยอนุกูล จาโรทก เดอะเลตเตอร์ เขียนเป็นส่งตาย (2549) กำกับโดยกพล ทองพลับ และผีไม้จิ้มฟัน (2550) กำกับโดยปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์ โดยใช้แนวคิดภาพแทน (Representation) ในการศึกษาประกอบกับการศึกษาตัวบท ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบสำคัญของความเป็นชายในสังคมไทยคือ ความเป็นสุภาพบุรุษ แม้เงื่อนไขดังกล่าวนี้จะสร้างให้ผู้ชายมีอัตลักษณ์สู่ความเป็นสมัยใหม่ (ศิวิไลซ์) แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงภาวะย้อนแย้งและความเปราะบางของความเป็นชายไทย ความเป็นสุภาพบุรุษลูกผู้ชายกลับกลายเป็นสิ่งเหนี่ยวรั้งให้พวกเขายึดติดกับอัตลักษณ์บางประการจนเกิดความอึดอัด สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความอ่อนแอและความทุกข์ทรมานของผู้ชายผ่านการเป็นผีที่ไม่สามารถไปผุดเกิดได้ พวกเขาต้องคลี่คลายปมปัญหาอันเกี่ยวโยงกับความเป็นชาย อาทิ สัจจะลูกผู้ชาย ศักดิ์ศรีความเป็นชายได้สำเร็จ เป็นต้น นอกจากนี้การกลายเป็นผีของผู้ชายยังสะท้อนให้เห็นว่าตัวละครชายที่อยู่ภายใต้ในสังคมปิตาธิปไตยถูกกดขี่กลั่นแกล้งทั้งจากผู้ชายด้วยกันเองและผู้หญิง จนต้องหยิบยืมอำนาจของผีเข้ามาใช้ในการต่อสู้เพื่อแก้แค้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2527). ผีเจ้านาย. เชียงใหม่: โครงการตำรามหาวิทยาลัยห้องจำหน่ายหนังสือสำนักหอสมุดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2545). “บทบาทและสถานภาพของผู้หญิงกับการเมืองในประวัติศาสตร์สังคมไทย”. ศิลปวัฒนธรรม, 23(7): 62-70.
ธนวัฒน์ปัญญานันท์. (2559). การประกอบสร้าง “ความเป็นผีผู้หญิง” ในภาพยนตร์ผีไทย ระหว่าง พ.ศ.2544-2557. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา), คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนวัฒน์ปัญญานันท์. (2563). ““บ้าน”: ภาพแทนสภาวะหลอกหลอนของ “ความเป็นชาย” ในสังคมทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ ในเรื่องสั้น “ผีอยู่ในบ้าน” และภาพยนตร์เรื่อง “ลัดดาแลนด์”. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(1): 12-26.
นพพร ประชากุล. (2552). “ภาพแทนของชายกับความคาดหมายของหญิง”. ในยอกอักษรย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่าน และ วิภาษา.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). รื้อสร้างมายาคติ “ความเป็นชาย” ในสังคมไทย –เราจะศึกษา “ความเป็นชายอย่างไร” [บทความในเว็บไซต์การประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 21]. สืบค้นจาก http://www.sac.or.th/conference/2017.
นิรินทร์ เภตราไชยอนันต์. (2551). ภาพตัวแทนผีผู้หญิงในละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปริญ รสจันทร์. (2562). “การช่วงชิงบทบาทผู้ค้ำชูระหว่างผีกับรัฐสยามในลุ่มแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2420 – 2560”. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, 10(2): 194-218.
ปิยะธิดา เกตุชาติ และวรรณพร พงษ์เพ็ง. (2560). “ภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่ ของสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ”. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 6(2): 20-36.
พยุง ตรงสวัสดิ์. (2544). เมืองหมื่นเทพ.กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด.
พระธัมมทัต โตภิกขุ พ.ณ ประมวญมารค. (2533). ตำนานต้นผีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง จำกัด.
มนสิการ เฮงสุวรรณ และอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2557). “คำเรืยกและมโนทัศน์ "ผี" ของผู้พูดภาษาพม่า การจัดจำพวกแบบชาวบ้าน”. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 10(1), 73-96.
มาลา คำจันทร์. (2559). เล่าเรื่องผีล้านนา. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ไม่มีใครกล้ารื้อ ศาลเจ้าพ่อแขก จุดยิงเป้านักโทษ สมัยจอมพลถนอม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/east/1607336
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
วัฒนาพร นนลือชา และอุมารินทร์ ตุลารักษ์. (2557). “อุดมการณ์ในละครโทรทัศน์แนวผีของไทย Ideologies in Thai Television Horror Dramas.” วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(3): 26-46.
ศุภกิจ เจนนพกาญจน์. (2556). “วิกฤติความเป็นชายและการแสวงหาความยุติธรรมผ่านบทพูดเดี่ยว (Monologue) ในเรื่องสั้น ผีอยู่ในบ้าน (2535) ของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์”. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4, ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา, 10 พฤษภาคม. หน้า 155-167.
สายทิพย์ ภาณุทัต. (2553). เทพ ผี วิญญาณ ในพระราชวัง. กรุงเทพฯ: บริษัทลมดี จำกัด.
สุริยา สมุทคุปติ์. (2542). ทรงเจ้าเข้าผี : วาทกรรมของลัทธิพิธีและวิกฤติการณ์ของความทันสมัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2545). ผีสางคางแดง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนปัญญา.
เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ : มติชน.
หฤทัยรัตน์ ศรีจันทร์ขำ. (2558). รักโรแมนติกในภาพยนตร์ผีไทย, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสื่อสารมวลชน), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาทิตยา จารุจินดา. (2555). การสร้างภาพความเป็นหญิงในนวนิยายไทย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม, ปริญญานิพนธ์ ศศ.ด. (ศิลปวัฒนธรรมวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Stuart Hall. (1997). Representation: Cultural Representations and signifying Practices. London: Sage.
Flourish Itulua-Abumere. (2013). “Understanding Men and Masculinity in Modern Society.” Open Journal of Social Science Research, 1(2): 42-45.
Sasinee Khuankaew. (2015). Femininity and masculinity in three selected twentieth-century Thai romance fictions, PhD Thesis, Cardiff University.
Atit Pongpanit. (2016). ““Queering” Thai Masculinities and Sexualities in Phi Mak Phra Khanong.” Journal of Social Sciences Naresuan University, 12(1): 101-123. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jssnu/article/view/210900
Wongthes, P. (2000). Society and Culture in Southeast Asia. Bangkok: Ruankaew Printing.