การเปรียบเทียบทัศนคติ ความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กรวรรณ กฤตวรกาญจน์
เสาวลักษณ์ ด้วงอิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติ ความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ระหว่าง GrabFood และ Foodpanda ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทำการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถามตัวอย่างไรเดอร์GrabFood จำนวน 150 คน และ ไรเดอร์ Foodpanda จำนวน 150 คน ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวอย่างจากไรเดอร์บริษัทละ 10 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างไรเดอร์ GrabFood และ Foodpanda มีความแตกต่างกัน โดยไรเดอร์ Foodpanda มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติมากกว่าไรเดอร์ GrabFood (2) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างไรเดอร์ GrabFood และ Foodpanda มีความแตกต่างกัน โดยไรเดอร์ GrabFood มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมากกว่าไรเดอร์ Foodpanda ที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารของไรเดอร์ GrabFood และ Foodpanda มีความแตกต่างกัน ในด้านความต้องการทางร่างกาย ด้านความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ด้านความต้องการยกย่อง และด้านความต้องการความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
กฤตวรกาญจน์ ก. ., & ด้วงอิน เ. (2021). การเปรียบเทียบทัศนคติ ความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 9(2), 247–277. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/252686
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขยร. (2563). พอเถอะ! ทุนนิยมเลยเถิด การเกิดแพลตฟอร์ม+Co-op อาจเป็นทางเลือกใหม่. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://decode.plus/thailand-platform-economy/
ธีรยุทธ แก้วเกร็ด. (2560). การตัดสินใจเลือกอาชีพของพนักงานองค์กรเอกชน ในจังหวัดนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
น้ำทิพย์ บุตรทศ และ วรรณภา ลือกิตินันท์. (2558). การตัดสินใจเลือกอาชีพ แรงจูงใจ และความก้าวหน้าในอาชีพพริตตี้เอ็มซี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มลนิชา จันทร์เปรม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท สามเสนบริวเวอรี่ จำกัด (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: เอสเค บุคเนส.
วิภาวี ลืมเนตร.(2546). ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางาน กรณีศึกษา บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). “หลังโควิด-19 ธุรกิจ Food Delivery ขยายตัวบนการแข่งขันที่ยิ่งรุนแรง… ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรุกไปสู่ Super Application”. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3128-Food-Delivery.aspx
สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx
Marketinfo. (2564). Market situation: ปี 64 ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ จะท้าทายมากยิ่งขึ้น. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/marketing-ok/2021/01/11/entry-1
SME in Focus. (2563). เจาะกลยุทธ์สู้ศึกชิงเจ้าตลาด ‘Food Delivery’. สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/food-delivery-marketing-strategy
The Standard. (2563). ผ่าสังเวียนศึก ‘ฟู้ดเดลิเวอรีไทย’ เมื่อโจทย์ใหญ่ในจานอร่อยคือต้อง ‘ทำเงิน’. สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2564, จาก https://thestandard.co/thai-food-delivery-business/

ภาษาอังกฤษ
Applewhite, P. B. (1965). Organization Behavior Englewook Cliffs. New York: Prentic Hall.
Thanabordeekij, P. (2017). Identifying the gaps between customer expectations and perceptions on service quality dimensions of XYZ Fitness. Journal of Southern Technology, 10(2), 177-187.
Triandis, H.C. (1971). Attitude and change. New York: Wile