ข่าวสืบสวนไทยกับการอยู่รอดในยุควารสารศาสตร์ดิจิทัล

Main Article Content

มนตรี จุ้ยม่วงศรี
กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์
พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการสนับสนุน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการผลิตและการนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนซึ่งกล่าวได้ว่ากำลังประสบกับภาวะลำบากอันเนื่องมาจากการลดลงของจำนวนการผลิตและความนิยมในการบริโภค โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักข่าว ผู้บริหารองค์กรข่าว และผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนผู้ผลิตข่าวทางเฟซบุ๊ก จำนวนรวมทั้งสิ้น 38 คน
ผลการวิจัยพบว่า การได้รับงบประมาณสนับสนุนการทำข่าวเชิงสืบสวนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในรูปแบบการจัดทำโครงการผลิตข่าว หรือการจัดตั้งกองทุนอิสระเพื่อสนับสนุนงบประมาณการทำข่าวเชิงสืบสวนเป็นการเฉพาะ ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานรัฐโดยไม่มีการปิดกั้น และการปรับปรุงระบบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางที่ผู้เกี่ยวข้องกับข่าวเชิงสืบสวนทุกกลุ่มเห็นตรงกันว่าเป็นแนวทางที่จะช่วยเยียวยา และเอื้อให้ข่าวสืบสวนยังคงอยู่รอดได้ในสภาวะที่ประชาชนมีทางเลือกมากมายในการบริโภคข่าวสาร อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีดิจิทัลที่อำนวยให้การผลิตและนำเสนอข่าวสารเป็นไปโดยง่าย แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวผู้วิจัยกลับมองว่าเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติเนื่องจากข่าวเชิงสืบสวนเป็นข่าวที่มีมิติเกี่ยวกับการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของหน่วยงานราชการและผู้มีอำนาจในสังคมไทย

Article Details

How to Cite
จุ้ยม่วงศรี ม., หงส์วรนันท์ ก., & ทิศาภาคย์ พ. (2021). ข่าวสืบสวนไทยกับการอยู่รอดในยุควารสารศาสตร์ดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 9(1), 72–101. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/246881
บท
บทความวิจัย

References

เจนศักดิ์ แซ่อึ้ง, ผู้สื่อข่าวไทยรัฐทีวี. สัมภาษณ์, 11 มีนาคม 2561.
ปรเมศวร์ เหล็กเพชร, อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์, 23
กุมภาพันธ์ 2561.
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช และคณะ. (2539). การรายงานข่าวชั้นสูง. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์
ดอกหญ้า.
พีระ จิรโสภณ.(2544). “ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน” ในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 11
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนตรี จุ้ยม่วงศรี.(2558). พัฒนาการข่าวยอดเยี่ยมรางวัลมูลนิธิอิศรา อมันตกุล กับการ
กำหนดบทบาทและแนวทางในการรายงานข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2537). ข่าวเจาะ เจาะข่าว สุดยอดข่าว “พูลิตเซอร์”. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.(2550). Investigative Journalism ข่าวเจาะ-เจาะข่าว ถอดประสบการณ์
และเทคนิคข่าวเชิงสืบสวน. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2560). การรายงานข่าวเชิงสืบสวน. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เสนาะ สุขเจริญ. (2548). ‘ข่าว-เจาะ’. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openbooks.