การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติก” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้วิธีการสำรวจ (survey research) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเคยเปิดรับสื่อเกี่ยวกับมาตรการจัดการถุงพลาสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 50-59 ปี มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ส่วนตัวต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป ในส่วนของการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับมาตรการจัดการถุงพลาสติกพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อออนไลน์ โดยเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ของสำนักข่าว (เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูป) มากที่สุด ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับมาตรการจัดการถุงพลาสติกพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในระดับปานกลาง ในส่วนของทัศนคติที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติกพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับเห็นด้วย โดยมีทัศนคติในเชิงบวกต่อมาตรการทั้ง 4 มาตรการ อันได้แก่ 1) มาตรการด้านการลด 2) มาตรการด้านการเลิก 3) มาตรการด้านการใช้นวัตกรรมใหม่/การใช้สิ่งทดแทน และ 4) มาตรการด้านการคัดแยกและกำจัด ในส่วนของพฤติกรรมที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติกพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในระดับมาก ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับสื่อของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการจัดการถุงพลาสติกมีความสัมพันธ์กับความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการจัดการถุงพลาสติก ความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการจัดการถุงพลาสติกมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติก และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนที่มีต่อมาตรการจัดการถุงพลาสติก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานการประชุม คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติก ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.pcd.go.th/Info_serv/File/17-09-62/03.pdf. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.
ชมพูนุช นาคสุกปาน. (2557). การเปิดรับ การรับรู้ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชญานิศ สุนทรเวสน์. (2559). ทัศนคติที่มีต่อธุรกิจด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ในสังคมออนไลน์ ของประชาชนเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ สาขาการจัดการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม.
ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และประภัสสร วรรณสถิตย์. (2551). เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
ณิชชา บูรณสิงห์. (2563). “ขยะพลาสติก” ปัญหาระดับโลกที่ต้องเร่งจัดการ. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2562/hi2562-041.pdf. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563.
ณัฏฐยา จำเนียร. (2558). รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการใช้ “MyMo Application” ของธนาคารออมสิน ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ถกลเกียรติ วีรวรรณ. (2563). 5 เหตุผลทำไมทุกสื่อยังไม่ตาย แม้ ONLINE มา. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://marketeeronline.co/archives/12603. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2563). แบรนด์ควรเรียนรู้อะไรจากการเติบโตของพอดแคสต์ แพลตฟอร์มที่ร้อนแรงที่สุดเวลานี้. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.blockdit.com/posts/5cc19c3cdd5f940c4176f4f5. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563.
ประพรรษา เย็นสบาย และดร. อังคณา ตุงคะสมิต. (2552). “การส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.” วารสารวิจัย มข. 9 (เมษายา-มิถุนายน): 119.
ปวีณา จันทร์สวัสดิ์. (2560). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมของประชาชนที่มีต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาลิดา สามประดิษฐ์. (2559). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และความรับผิดชอบทางสังคม ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ถุงผ้าบรรจุสินค้าที่ซื้อจาก Tops Market ของคนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). “สื่อมวลชน: เสรีภาพและความรับผิดชอบ.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11 (4 ตุลาคม-ธันวาคม): 11.
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2561). “สื่อสังคมออนไลน์กับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน.” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 5 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 240.
ภพธร วุฒิหาร. (2559). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2563). แคมเปญ งดใช้ถุงพลาสติก ช่วยลดขยะมากน้อยแค่ไหน ?. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.seub.or.th/bloging/สถานการณ์/แคมเปญ-งดใช้ถุงพลาสติก-ช/. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.
ยุพิน ระพิพันธุ์. (2544). ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้ง ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชต์พริษฐา พันธุ์ดี, รัชนีกร โชติชัยสถิต, และจินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2563). ความรู้และพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของครอบครัวในจังหวัดนนทบุรี. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters/ฝสส/research/3nd/FullPaper/SS/Poster/P-SS%20025%20นางสาวรัชต์พริษฐา%20%20พันธุ์ดี.pdf. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563.
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). การตลาดโลกสวย | Voice of Green : เพื่อโลก เพื่อเรา. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.margetting.com/post/voice-of-green-marketing. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุจินันท์ พูลสวัสดิ์. (2561). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมของประชาชนที่มีต่อกองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). “แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล.” วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร. 21 (กันยายน-ธันวาคม): 38.
สาวิตรี ศรีสุข. (2550). หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2563). งดใช้ถุงพลาสติก. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=703#:~:text=Previous. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 จังหวัดอุดรธานี. (2563). ผลการสำรวจการรับรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติก. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.mnre.go.th/reo09/th/news/detail/50506. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563.
เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์ และสุมาลี พุ่มภิญโญ. (2560). “ทัศนคติของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาต่อการจัดการขยะแบบ 3Rs”. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10 (เมษายน-มิถุนายน): 172.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2563). อนุสัญญา UNFCCC. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=9&s2=175. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาลี ปรียากร. (2560). การศึกษาแนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านรูปแบบรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภาษาอังกฤษ
BLT. (2563). คนไทยใช้ถุงพลาสติกมากถึง 5,300 ตัน/วัน เอกชนหนุนยกเลิกพลาสติกใช้ครั้งเดียว. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.bltbangkok.com/news/5074/. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563.
CIEL. (2020). Plastic & Climate: The Hidden Costs of a Plastic Planet. (Electronic Source). Available: https://www.ciel.org/wp-content/uploads/2019/05/Plastic-and-Climate-Executive-Summary-2019.pdf. Retrieved on June 10th, 2020.
UNEP. (2020). World Environment Day 2018: Overview. (Electronic Source). Available: https://wedocs.unep.org/bitstream/handle/20.500.11822/25398/WED%20Messaging%20Two-Page%2027April.pdf?sequence=12&isAllowed=y. Retrieved on June 10th, 2020.