เหตุผลของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของสังคมไทย

Main Article Content

จิรเวทย์ รักชาติ
วิโรจน์ สุทธิสีมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “เหตุผลของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของสังคมไทย” เป็นการศึกษาเหตุผลต่าง ๆ ของการ
ปั่นจักรยานที่ปรากฏขึ้นในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ เพื่อการหาเหตุผลทั้งที่ปรากฏ
ในสื่อมวลชนและเหตุผลที่แท้จริงของประชาชนทั่วไปในฐานะของผู้บริโภคสินค้าจักรยาน เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้
ในการสนับสนุนให้เกิดการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้นอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อค้นหา
เหตุผลของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย 2) เพื่ออธิบายสาเหตุของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน
ของคนในสังคมไทย และ 3) เพื่อเข้าใจถึงความหมายของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย การศึกษา
เลือกใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยอาศัยกรอบแนวคิดที่ว่าด้วยตรรกวิทยาแห่งการบริโภค และทฤษฎี
สัญวิทยาแนววิพากษ์มาใช้ โดยทำการศึกษาจากผู้ใช้จักรยานทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูล
ด้วยการแจกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ นอกจากนี้ ยังศึกษาสื่อมวลชนทั้งจากรายการโทรทัศน์
ที่รณรงค์ในการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันสองรายการและศึกษาชิ้นงานโฆษณาสินค้าจักรยานในนิตยสารที่เกี่ยวกับจักรยาน
จำนวนสองหัวที่ตีพิมพ์ในปี 2559 ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันในพื้นที่
กรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่เลือกใช้ คือ เหตุผลจากคุณค่าจริงในการใช้ประโยชน์ของจักรยานในฐานะที่เป็นพาหนะ
สำหรับการเดินทาง อุปกรณ์สำหรับเพื่อใช้ในการออกกำลัง และอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสร้างความเพลิดเพลินเป็นเหตุผลหลัก ทั้งนี้
ยังมีการเลือกใช้จักรยานร่วมกับเหตุผลจากมูลค่าที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในคุณลักษณะของราคาของตัวจักรยานที่ไม่เน้นราคา
แพงมาก เพื่อให้สามารถซื้อจักรยานเพื่อใช้ตอบสนองเป้าหมายของการปั่นจักรยานเพื่อการออกกำลังกายในเส้นทางระยะสั้น
และไม่ใช้เวลาในการปั่นมากนัก ขณะที่ผู้ปั่นให้ความสำคัญกับเหตุผลของการปั่นจักรยานจากคุณค่าเชิงสัญลักษณ์
ของจักรยานน้อยกว่า โดยเมื่อเปรียบเทียบจากพื้นที่สื่อทั้งรายการทางโทรทัศน์และโฆษณาจักรยานในนิตยสารที่ทำการศึกษา
การปั่นจักรยานในพื้นที่สื่อเน้นไปที่การใช้เวลาว่างในการปั่นเพื่อการท่องเที่ยวซึ่งเดินทางในระยะไกลและใช้เวลามาก
และใช้เงินทุนทั้งการเดินทางและการซื้อหาอุปกรณ์สำหรับการปั่นจักรยาน มากกว่าผลที่ได้จากการศึกษากลุ่มประชาชนผู้ใช้
จักรยานในชีวิตประจำวันทั่วไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ ที่เน้นไปที่การปั่นออกกำลังการในระยะเวลาสั้น
และเส้นทางในการปั่นที่ไม่ไกลมาก รวมทั้งอยู่ในพื้นที่ปิดซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าพื้นที่สาธารณะที่เป็นเส้นทางร่วม
กับผู้ใช้ทางด้วยพาหนะอื่น ๆ นอกจากนี้ ราคาของสินค้าจักรยานในสื่อทั้งโทรทัศน์และนิตยสารส่วนมากราคาสูงเกินกว่า
ที่บุคคลทั่วไปจะซื้อเพื่อเหตุผลสำหรับการใช้ประโยชน์จริงในชีวิตประจำวัน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสื่อมวลชน
ควรเน้นไปที่การนำเสนอเหตุผลในแง่การใช้ประโยชน์จริงของจักรยาน รวมทั้งสนับสนุนให้สินค้าจักรยานที่มีราคาถูกลง
เพื่อให้คนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทยสามารถซื้อได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง กับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
เฉลิมวรรรณ ห่อทองคำ. (2545). ตรรกะการบริโภค และลักษณะสื่อคือสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงกลด บางยี่ขัน. (2542). ทางรถไฟสายดาวตก (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อะบุ๊ค.
ทัศนีย์ มีวรรณ. (2542). การสร้างและการบริโภคสัญญะในปรากฏการณ์ชีวจิตและการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทมวรรณ เนตรพุกกณะ. (2539). การวิเคราะห์ที่อยู่อาศัยในเชิงเศรษฐกิจสังคมโดยการใช้สื่อ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พิมพ์จุฑา คูหะรัตน์. (2552). การบริโภคสัญญะและบทบาทการสื่อสารของกลุ่มผู้เล่นตุ๊กตาบลายธ์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒินันท์ สุนทรขจิต. (2551). ร้านอาหารญี่ปุ่นสมัยใหม่ : พื้นที่การสื่อสารความหมายอัตลักษณ์และความเป็นญี่ปุ่น.
วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรท สวนดวก. (2549). การสื่อสารความหมายตรรกะการบริโภคงานมหกรรมแสดงสินค้า. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรกร รัตนกิจ. (2550). พระเครื่อง : การสื่อสาร กับการบริโภคเชิงสัญญะ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรินธร รัตน์เจริญขจร. (2544). ร้านกาแฟ : ความหมายในวัฒนธรรมไทยยุคบริโภคนิยม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยา
และมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์. (2559). จักรยานเป็นไปได้. สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2559 จาก http://www.greenworld.or.th/news-
update/จักรยานเป็นไปได้.
อมต จัทรรังษี. (2552). สวนในบ้าน : การบริโภคเชิงสัญญะและการสร้างความโดดเด่นทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.