การสืบสาวประวัติศาสตร์ของวาทกรรมความเป็นพลเมืองข้อมูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารวาทกรรมเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) แพร่หลายกว้างขวางในแวดวงที่หลากหลาย องค์กรสาธารณะต่าง ๆ เริ่มสนใจนำข้อมูลขนาดใหญ่ มาใช้วิเคราะห์เพื่อกำหนดขับเคลื่อนนโยบาย มีการจัดเก็บ บันทึก และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกด้านต่าง ๆ ของทั้งระดับปัจเจกแต่ละบุคคลและระดับสังคมอย่างกว้างขวาง อัตบุคคลในยุคดิจิทัลเป็นทั้งผู้ผลิตข้อมูล (data) ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และเป็นผู้ที่ถูกเฝ้ามองผ่านดาต้าที่ตนผลิต หรือ กลายเป็นพลเมืองดาต้า (data-citizens) บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะอาศัยวิธีวงศาวิทยา (genealogy) เพื่อสืบสาวสาแหรกทางประวัติศาสตร์ของวาทกรรมความเป็นพลเมืองข้อมูล (data-citizenship) ผ่านกรอบการวิเคราะห์ อำนาจ (power) ชีวอำนาจ (biopower) ชีวการเมือง (biopolitics) การทำให้กลายเป็นองค์ประธาน (subjectification) และการทำให้กลายเป็นวัตถุ (objectification) ของ Michel Foucault บทความแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไทย 3 เหตุการณ์เป็นเงื่อนไขการก่อรูปพลเมืองข้อมูล ได้แก่ การจัดทำทะเบียนราษฎร์ในประเทศไทย การพัฒนาการเก็บข้อมูลทางจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ และ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศ ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นพลวัตรการเกิดขึ้นของวาทกรรมความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลของพลเมือง และรากเหง้าที่หลากหลายของความเป็นพลเมืองข้อมูล อันเกิดจากรอยแยกและสิ่งผสมรวมจากแต่ละองค์ประกอบที่ต่างมีประวัติศาสตร์ของตนเอง มารวมอยู่ด้วยกันในช่วงเวลาปัจจุบัน และเงื่อนไขเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายของอำนาจที่สร้างสรรค์และบงการมนุษย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2552). ร้อยคิด พันคำนึง ถึงหม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2537). 30 ปี สู่วิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จำลอง ดิษยวณิช. (2552). จิตเวชศาสตร์ไทยในอดีต. วารวสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(ฉบับภาคผนวก 1), 3S-11S.
ดำรงค์ วิวัฒนาไพบูลย์ลาภ. (2525). ทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดือน สินธุพันธ์ประทุม. (2508). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมของตนเองของนักเรียน การรับรู้พฤติกรรมของนักเรียนโดยครูในทัศนะของนักเรียน และการรับรู้ของครูที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียนกับความสัมฤทธิ์ผลในการเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แถม กุลนานันท์. (2496). มูลฐานแห่งอาชญากรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัลลภา ราหุลปาน (2518).อิทธิพลของชื่อการค้าและสไตล์ของเสื้อเชิ้ตสำเร็จรูป ต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาณิช จรุงกิจอนันต์. (2553). มิชิแกนเทสต์. ใน เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน (บ.ก.). ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2555). ไพร่เลือกนาย-ตามใจไพร่สมัคร, พ.ศ. 2511-2442. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(3), 271-295.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). โขน คาราบาว น้ำเน่าและหนังไทย. กรุงเทพฯ: มติชน
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการณ์จิตสำนึก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน (2553). ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.
ประชาไท. (2562). เมื่อระบบอัตโนมัติ 'อัลกอริทึม' กีดกันสวัสดิการคนจน ส่งผลถึงชีวิต. สืบค้น 18 ธันวาคม 2563, จาก https://prachatai.com/journal/2019/11/85065
ธงชัย สันติวงษ์. (2515). พฤติกรรมผู้บริโภค. นครหลวงฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรยุทธ บุญมี. (2557). มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
สภาวิจัยแห่งชาติ. (2502). คำกล่าวเปิดประชุมสภาวิจัยแห่งชาติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. สืบค้น 18 ธันวาคม 2562, จาก https://www.nrct.go.th/Portals/0/Document/doc2018/documentspeech.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). Big Data ในภาครัฐ. Academic Focus, มกราคม 2559. สืบค้น 7 ธันวาคม 2563, จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/dec2559-4.pdf
อัญชลี สุสายัณห์. (2541). แรงงานไพร่ในสังคมไทยโบราณ. ใน ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (บ.ก.). ประวัติศาสตร์แรงงานไทย : ฉบับกู้ศักดิ์ศรีกรรมกร (น. 1-30). กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย; ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; มูลนิธิฟรีดริก เอแบร์ท.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคล ถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
Babbi, E. R. (1973). Survey Research Methods. CA: Wadsworth Publishing Company, Inc.
Babbi, E. R. (2016). The Practice of Social Research. Boston, MA: Cengage Learning.
Barnes, T.J. (2013). Big Data, little history. Dialogues in Human Geography, 3(3), 297–302.
Cooke, M. (2017). ‘Is Technological Change Threatening the Very Existence of “Traditional” Survey Research and, if So, What should we do about it?’. International Journal of Market Research, 59(2), 153-155.
Chayakul, Pilai. (1964). Child rearing practices of middle-class families in Bangkok-Thonburi (master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Downes-Le Guin, T., Baker, R., Mechling, J., & Ruyle, E. (2012). Myths and realities of respondent engagement in online surveys. International Journal of Market Research, 54(5), 613-633.
Fuchs, Christian (2014). Critique of the political economy of informational capitalism and social media. In C. Fuchs & M. Sandoval (Eds.), Critique, social media and the information society (pp. 51-65). NY: Routledge.
Foucault, Michel. (1975). Discipline and Punish: The Birth of the Prison. London: Vintage Books.
Foucault, Michel. (1978). The History of Sexuality Volume 1: An Introduction. New York: Pantheon.
Foucault, Michel. (1982). The Subject and Power. Critical Inquiry, 8(4), 777-795.
Foucault, Michel. (1984). Nietzsche, Genealogy, History. In P. Rabinow (ed.), The Foucault Reader. (pp.78-90). London : the Penguin Group.
Foucault, M. (1991). Governmentality. In G. Burchell, C. Gordon, & P. Miller (Eds.), The Foucault effect: studies in governmentality with two lectures by and an interview with Michel Foucault (pp. 87-104). Chicago: The University of Chicago Press.
Katz, Elihu & Lazarsfeld, Pal. (1955). Personal Influence. New York: Free Press.
Kowatrakul, Chirapa. (1964). Child rearing practices and parents' expectations as perceived by middle class adolescents (master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Iliadis, Andrew & Russo, Federica. (2016). Critical data studies: An introduction. Big Data & Society, July-December 2016, 1-7.
Neff, Gina; Tanweer, Anissa; Fiore-Gartland, Brittany & Osburn, Laura. (2017). Critique and Contribute - A Practice-Based Framework for Improving Critical Data Studies and Data Science. Big Data, 5(2), 85-97.
Rieder, Gernot & Simon, Judith. (2016). Datatrust: Or, the political quest for numerical evidence and the epistemologies of Big Data, Big Data & Society, January–June 2016, 1-6.
Rossi, Luca; Neumayer, Christina & Hjelholt, Morten. (2016). The Shadow of Big Data: Data-Citizenship and Exclusion. In 3rd ISA Forum of Sociology: book of Abstracts (p.595). Vienna: International Sociological Association.
Schultz, Don E. (1994). Integrated Marketing Communications. Lincolnwood, Illinois: NTC.
Sheth, J.N. (1985). History of Consumer Behavior: a Marketing Perspective. In Jagdish N. Sheth & Chin Tiong Tan (Eds), Historical Perspective in Consumer Research: National and International Perspectives (pp. 5-7) Singapore: Association for Consumer Research.
Srisukho, Dirake. (1964). The perception of the relationship between boys and girls among university students (master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Suvannathat, Chancha & Plitplotphai, Praphan. (1988). History and Achievements of the Institute of Research in Behavioral Sciences (Original the International Institute for Child Study). Bangkok: Institute of Research in Behavioral Sciences, Srinakharinwirot University Prasarnmit Campus.
Tapanya, Sombat. (2004). Psychology in Thailand. In M. J. Stevens & D. Wedding. Handbook of International Psychology. NY: Brunner-Routledge.