อสุรกายรัก: การเมืองเรื่องความรักและความโศกเศร้าอาลัยของผู้ชาย ต่อ (ผี) ผู้หญิงใน นางนาก พี่มากพระโขนง แสงกระสือ และ ส่งต่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ต้องการศึกษาการเมืองเรื่องความรักและความโศกเศร้าโดยใช้มุมมองจากตัวละครชายเป็นจุดยืนในฐานะ the object that was made by love เพื่อชี้ชวนให้ตั้งคำถามต่อผลการศึกษาที่ผ่านมาในประเด็นดังกล่าวซึ่งโน้มเอียงไปสู่คำตอบว่า (ผี) ผู้หญิงคือวัตถุวิสัยที่ถูกกระทำจากอุดมการณ์ความรัก (จนไม่สามารถไปผุดเกิดได้) เนื่องจากอุดมการณ์ดังกล่าวถูกครอบงำด้วยอำนาจแบบปิตาธิปไตย ผ่านตัวบท 4 เรื่องคือ นางนาก พี่มากพระโขนง แสงกระสือ และ ส่งต่อ อย่างไรก็ตามบทความชิ้นนี้พยายามชี้ให้เห็นว่าตัวละครชายก็ได้รับผลกระทบต่ออำนาจความรักเช่นเดียวกัน โดยใช้แนวคิดจาก The Cultural Politics of Emotion ของ Sara Ahmed ในประเด็น ความรัก การสูญเสีย และความโศกเศร้าอาลัย เป็นข้อสนับสนุนนในการศึกษา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผีนางนากไม่เพียงแต่เป็นกรงขังแห่งรักของผู้หญิงเท่านั้น แต่ในทางกลับกันอำนาจแห่งรักได้ก่อร่างสร้างผีผู้หญิงขึ้นมาเพื่อหลอกหลอนผู้ชายด้วยเช่นกัน ดังนั้นรอยจูบของผีผู้หญิงใน แสงกระสือ จึงสร้างความเจ็บปวดให้กับชายผู้ตกหลุมรักเธอ กล่าวคือหากความรักคืออุดมการณ์ที่กดทับผู้หญิงให้ต้องหลงติดอยู่ในวังวนแห่งรัก (จนไม่ไปผุดเกิด) ดังนั้นปฏิบัติการในการโต้กลับอำนาจแห่งรักก็คือความรักของผู้หญิงที่หวนกลับมาหลอกหลอนผู้ชายในรูปของผี แม้จะอธิบายว่าท้ายที่สุดแล้วผีนางนากถูกปราบด้วยข้อคิดทางศาสนา อย่างไรก็ตามหากนายมากไม่ออกบวชก็จะไม่สามารถหนีจากภาวะหลอกหลอนดังกล่าวได้ เรื่องจึงมักจบลงด้วยการต้องบวชของผู้ชาย ดังนั้นการออกบวชของผู้ชายจึงอาจมิใช่ความปรารถนาหากแต่เป็นความจำใจเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากอำนาจแห่งรัก (ที่มาในรูปผีผู้หญิง) เมื่อใช้มุมมองดังกล่าวในการอธิบาย ตัวละครผีผู้หญิงทวงรักอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์หรืออุปลักษณ์ของภาวะหลอนรักของผู้ชายเท่านั้น ดังที่ตัวละครชายใน ส่งต่อ ไม่สามารถก้าวพ้นจากความทุกข์ทรมานจากการสูญเสียหญิงอันเป็นที่รักได้ เช่นเดียวกับนายมากใน พี่มากพระโขนง
Article Details
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
จินตวีร์ วิวัธน์. (2558). มฤตยูเขียว. กรุงเทพฯ: กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง.
จินตวีร์ วิวัธน์. (2558). มนุษย์ชิ้นส่วน. กรุงเทพฯ: กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2562). “บทนำ”. ใน ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (บรรณาธิการ). การสร้างการรับรู้ในสังคมไทย เล่ม 2. หน้า ix-xlvi. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
นันดานี. (2562). “ส่งต่อ”. ใน ธัชชัย ธัญญาวลัย (บรรณาธิการ), ร่างของอดีต. กรุงเทพฯ: อาร์ตี้เฮ้าส์.
นิรินทร์ เภตราไชยอนันต์. (2550). ภาพตัวแทนผีผู้หญิงในละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชุดา ปานกลาง. (2539). การวิเคราะห์การถ่ายทอดความหมายเรื่อง "ผี" ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แม่นาคพระโขนง" พ.ศ.2521-2532. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arnika Fuhrmann. (2016). Ghostly Desires: Queer Sexuality and Vernacular Buddhism in Contemporary Thai Cinema. Durham: Duke University Press.
Sara Ahmed. (2004). The Cultural Politics of Emotion (2sdedition). Edinburgh: Edinburgh University Press.