ความพึงพอใจที่มีต่อสิทธิประโยชน์ทางสังคมของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในเขตจังหวัดชลบุรี -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจที่มีต่อสิทธิประโยชน์ทางสังคมของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในเขตจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจ ของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในเขตจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้บกพร่องทางการได้ยินที่มีต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์ทางสังคม และพฤติกรรมการใช้สิทธิประโยชน์ทางสังคมของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในเขตจังหวัดชลบุรี การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)
เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ด้วยสถิติต่างๆ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (anova) ค่าสถิติ t-test รวมทั้งใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coeffcient) ในการวิเคราะห์ครั้งนี้
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 71.00 หรือคิดเป็น 284 คน มากกว่าเพศหญิงที่มีร้อยละ 29.00 หรือคิดเป็น 116 คน ช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 46.00 หรือคิดเป็น 184 คน และมีระยะเวลาการหูหนวกมาตั้งแต่กำเนิด ร้อยละ 71.75 หรือคิดเป็น 287 คน
ด้านทางการแพทย์ พบว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีความพึงพอใจต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์ด้านการบำบัด เช่น กิจกรรมบำบัด ที่มีค่าร้อยละ 3.84 และการใช้ยาผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์อื่นๆ ที่มีค่าเฉลี่ย 3.79
ด้านการศึกษา พบว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีความพึงพอใจต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์ด้านการคุ้มครองสิทธิและสนับสนุนทางการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ย 3.86 และโอกาสทางด้านการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ย 3.75
ด้านอาชีพ พบว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีความพึงพอใจต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์ในด้านการกู้ยืมเงินที่มีค่าเฉลี่ย 3.93 และได้รับการฝึกอบรม การพัฒนาอาชีพต่างๆ ที่มีค่าเฉลี่ย 3.84
ด้านสังคม พบว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีความพึงพอใจต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการ ด้านเบี้ยยังชีพผู้พิการ ที่มีค่าเฉลี่ย 3.82 และการได้รับค่าใช้จ่ายต่อสิ่งอำนวยความสะดวก ที่มีค่าเฉลี่ย 3.40
Article Details
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กรมประชาสงเคราะห์. (2530). ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนดินแดง. กรุงเทพฯ: กองสวัสดิการสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย.
ขนิษฐา เทวินทรภักติ. (2534). การดูแลบุคคลพิการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 23-29.
ธีราพร ดวงเจริญ. (2559). การเข้าถึงสวัสดิการสังคมสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.
มนฤดี ศรีสุข. (2545). การบริหารงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, สาขาการบริหารทั่วไป.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ Convention on the Rights of Personswith Disbilities (CRPD). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อรอนงศ์ สุวรรณกูล. (2525). การศึกษาทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อบุตรหลายที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้านการศึกษา และการเลี้ยงดู. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ วิทยาลัยครูสวนดุสิต.