การรับรู้ของผู้อ่านและการจัดการองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัสในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม แบ่งรูปแบบการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัส จำนวน 400 คน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารขององค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัส โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบค่าเฉลี่ย โดยความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร
การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้อำนวยการและกองบรรณาธิการที่มีบทบาทต่อการกำหนดนโยบาย และการวางแผนบริหารจัดการองค์กรร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัส โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผู้อ่านส่วนใหญ่รับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรและกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งยังรับรู้จริยธรรมขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนในฐานะองค์กรสื่อท้องถิ่นทั้งหมดอยู่ในระดับดี เช่นเดียวกับการเปิดรับสื่อของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ข่าวสารขององค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยู่ในระดับต่ำ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001
2) ลักษณะการจัดการองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัสในยุคดิจิทัล มีผลต่อการปรับตัวขององค์กรที่อาศัยหลักการและกระบวนการจัดการองค์กร ควบคู่ไปกับการหลอมรวมสื่อ เพื่อขยายกลุ่มผู้อ่านให้กว้างขึ้นพร้อมกับการนำเสนอผ่านสื่อใหม่ ซึ่งทำให้องค์กรลดต้นทุนในกระบวนการผลิต โดยปรับเนื้อหานำเสนอข่าวตามกระแสในพื้นที่สื่อออนไลน์ให้สอดคล้องการเปิดรับ
ของกลุ่มผู้อ่านหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น ภายใต้โครงการ
ผู้บริหารโฟกัสเขตจังหวัด เพื่อเพิ่มจำนวนการตีพิมพ์ จากการสร้างธุรกิจหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นโดยให้สิทธิและส่วนการครอบครองการบริหารจัดการและการจัดจำหน่ายแก่ผู้อ่านเป็นตัวแทนขายตรง
Article Details
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
จาก https://www.dbd.go.th/main.php?filename=index
กันตภณ เชื้อสุวรรณ์. (2558). การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการท้าทายของสื่อดิจิทัล. วารสารการสื่อสารมวลชน, 3(2),43-70.
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ดรุณี หิรัญรักษ์. (2530). การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทศพล คุ้มสุพรรณ. (2552). ลักษณะการบริหารงานหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเขตภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
ทำเนียบสื่อมวลชนสำนักงานประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด. (2559). รายชื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561,
จาก https://www.prd.go.th/main.php?filename=PR
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บรรยงค์ สุวรรณผ่อง, อังธิดา ลิมป์ปัทมปาณี, และ อติมา จันทร์ดา. (2552). สถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พนม จอมอินตา. (2549). การบริหารจัดการธุรกิจหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชานิเทศศาสตร์.
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2542). กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์ พริ้นติ้ง.
พีระ จิรโสภณ. (2529). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ในเอกสารสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร (หน่วยที่5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภูวสิษฏ์ สุขใส. (2557). บทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. นิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 21(1), 177-187.
เมธาวี แก้วสนิท. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการการเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประชาสังคมของหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
ยุพา สุภากุล. (2534). การสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
รัจรี พนเกตุ. (2554). จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
วรทัย ราวินิจ. (2549). ประสิทธิผลของการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมในการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาการประชาสัมพันธ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2561, จาก https://www.dopa.go.th
สิริพร จิตรักษ์ธรรม, ปราณีต ชาตะรัตน์, และ นิตยา จิตรักษ์ธรรม. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปิดรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สุกัญญา บูรณเดชาชัย. (2552). การสื่อสารมวลชน: แนวคิด ทฤษฎี และสถานการณ์ในประเทศไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภา ศิริมานนท์. (2523). จริยธรรมของหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: อักษรสาส์น.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2549). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ = Printed media. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: การพิมพ์.
สุรัตน์ นุ่นนนท์. (2539). เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ (หน่วยที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
อนุสรณ์ ศิริชาต. (2558). การรับรู้ข่าวสารการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคต่อการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ออนไลน์.
ใน ประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558 (น. 2-78 – 2-90). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ Mediumology หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาคร.
Gulick, Luther, and L. Urwick, eds. (1937). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration, Columbia University.
Daft, R. L., & Lengel, R. H. (1986). Organizational information requirements, media richness and structural design. Management science, 32(5), 554-571.
McQuail, D. (1983). Mass communication theory: an introduction. California: Sage Publications, University of California