การศึกษางานแปลวรรณกรรมคำสอนจีน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง : กรณีศึกษาการแปลเรื่องนางเคงเกียงสอนบุตร

Main Article Content

ศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลวรรณกรรมคำสอนจีนเป็นภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางเรื่องนางเคงเกียงสอนบุตร ซึ่งสันนิษฐานว่าแปลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นยุครอยต่อโดยมีการผสมผสานระหว่างวรรณคดีรูปแบบเก่าและวรรณคดีรูปแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก ทั้งนี้ เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งภาษาจีนและไทยได้ดีในบุคคลเดียวกันเหมือนกับช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะและวิธีการแปลวรรณกรรมจีนทั้งหลายจึงต้องอาศัยทั้งวิธีการเพิ่มเติมข้อความ ขยายความ วิธีรวบรัดตัดย่อ เพื่อให้ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจเนื้อหาของวรรณกรรมนั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น ผลการศึกษาพบว่า เรื่องนางเคงเกียงสอนบุตรใช้วิธีการแปลต่อไปนี้ การตัดข้อความ ขยายความ ดัดแปลงข้อความ เพิ่มเติมตัวอย่างในข้อความต้นฉบับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้บทแปลภาษาไทยมีเนื้อหาที่คลาดเคลื่อนกับต้นฉบับภาษาจีนอยู่มาก สำหรับการถอดเสียงภาษาจีนเป็นภาษาไทย พบว่าคำทับศัพท์ภาษาจีนในบทแปล เช่น ชื่อบุคคล ถอดตามเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นหลัก แต่ยังคงปรากฏการถอดเสียงตามภาษาจีนฮกเกี้ยนอยู่บ้าง เช่นเดียวกับวรรณกรรมจีนเรื่องอื่น ๆ ที่ปรากฏในสังคมไทยก่อนยุคดังกล่าว อาทิ ไซ่ฮั่น สามก๊ก เลียดก๊ก สุภาษิตขงจู๊ เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านจากการใช้คำทับศัพท์ตามเสียงจีนฮกเกี้ยนมาเป็นเสียงจีนแต้จิ๋ว อนึ่ง ผู้วิจัยคาดว่าวัตถุประสงค์หลักในการแปลวรรณกรรมคำสอนเรื่องนี้ คือ ผู้แปลปรารถนาจะเผยแพร่งานวรรณกรรมเชิงปรัชญาของจีนสู่สังคมไทย ตลอดจนสะท้อนหลักปฏิบัติตนของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ลิขิตเจริญธรรม ศ. (2023). การศึกษางานแปลวรรณกรรมคำสอนจีน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง : กรณีศึกษาการแปลเรื่องนางเคงเกียงสอนบุตร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(3), 217–241. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270084
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นุ่มทอง และ ศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปล จีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา, 12(2), 105-151.

กรมศิลปากร. (2479). สุภาษิตขงจู๊ กับ เรื่องนางเคงเกียงสอนบุตร. (ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป วันที่ 27 มกราคม 2479). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. https://vajirayana.org/สุภาษิตขงจู๊-กับ-เรื่องนางเคงเกียงสอนบุตร

ขวัญดี รักพงศ์. (2520). วิวัฒนาการของวรรณกรรมจีน แบบจีน และเกี่ยวกับจีนในภาษาไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 7, 102-134.

คณะกรรมการการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2543). เกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2554). ตำนานหนังสือสามก๊ก. สุขภาพใจ.

ถาวร สิกขโกศล. (2556). สุภาษิตขงจู๊และนางเคงเกียงสอนบุตร. วารสารจีนศึกษา, 6(1), 1-24.

ถาวร สิกขโกศล. (2559). ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่: อัตลักษณ์สำคัญเบื้องต้นของคนจีน. มติชน.

พจนานุกรมภาษาจีนแต้จิ๋ว. http://www.czyzd.com/

พจนานุกรมภาษาจีนฮกเกี้ยน. https://twblg.dict.edu.tw/holodict_new/

วินัย สุกใส. (2553). วิวัฒนาการวรรณกรรมจีนในภาษาไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2411-2475 (ตอนที่ 1). วารสารจีนศึกษา, 3(2), 212-240.

ศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2563). การศึกษางานแปลปรัชญานิพนธ์จีน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น: กรณีศึกษาการแปลสุภาษิตขงจู๊ โดยพระอมรโมลี (จี่). วารสารจีนศึกษา, 13 (2), 313-333.

Chen Tongsheng陈桐生. (2016). 国语. 中华书局.

Yang Xinping杨新平. (2015). 发幽阐微形塑典范——吴闿生《古文范》选评思想刍议. 北京社会科学, (10), 45-52.