การสร้างพื้นที่การเรียนรู้และการท่องเที่ยวผ่านเรื่องราวศิลปวัฒนธรรมชุมชนด้วยการแกะสลักบนประตูอุโบสถวัดศิริมงคล บ้านอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

Main Article Content

ไทยโรจน์ พวงมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทวัดศิริมงคล บ้านอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย และ 2) ศึกษาการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมบนประตูอุโบสถแกะสลัก วัดศิริมงคล อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และประเด็นการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) วัดศิริมงคลสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2284 เดิมชื่อว่าวัดสบเงิน เป็นวัดที่ชุมชนใช้ในกิจกรรมทางพุทธศาสนา กิจกรรมของชุมชนและใช้เป็นพื้นที่การจัดการท่องเที่ยว เนื่องจากมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าในพุทธศาสนาและชุมชน เช่น พระพุทธรูปปางนาคปรก พระธาตุมะนาวเดี่ยว และอุโบสถที่แกะสลักเรื่องราวศิลปวัฒนธรรมชุมชน และพุทธประวัติ และ 2) การสร้างพื้นที่การเรียนรู้เรื่องราวศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ การเส็งกลอง การเลี้ยงบ้านและงานบุญเดือนหกที่มีคุณค่าของชุมชนลงบนบานประตูอุโบสถแกะสลักต้องผ่านคณะกรรมการวัดและหมู่บ้านร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบดำเนินการนำเรื่องราวมาเชื่อมโยงกับงานพุทธศิลป์ ด้วยการหาตำแหน่งและฉากของเรื่องราวที่เหมาะสมและมีอัตลักษณ์ของชุมชนมาทำการแกะสลักนูนสูง เพื่อการบันทึกเรื่องราวและใช้เป็นพื้นที่การเรียนรู้และสื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา คำดี. (2558). วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 176-191.

กฤษฎา ไชยงาม, ไพโรจน์ เชื้อคำเพ็ง, สุริทัศน์ วรรณสาร, ไพรินทร์ คุณมี, ภริตา อากรตน, อภิชญา ชัยบุตร, สอน ดามัง, สัญญา สิทธิ, ธีรนันท์ พิทักษ์ราษฎร์, ประเดิม อุ่นเมือง, นภัสนันท์ อ่อนตา, รำไพ กาแก้ว, กฤตพร พิทักษ์ราษฎร์, สายใจ กันระเรศ, เสลี่ยง สิทธิ์เทียมทอง, และ ดำรงศักดิ์ มะโนแก้ว. (2560). การศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมบ้านอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กษิด์เดช เนื่องจำนงค์. (2563). การจัดการความรู้ทางวัฒนธรรม. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(2), 216-230.

โกสุม สายใจ. (2560). พุทธศิลป์กับการจัดการความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1), 1-10.

จิราภรณ์ เชื้อพรวน, พระมหาสมบัติคุเณสโก, และ พระครูวินัยธรธรรมรัตน์เขมธโร. (2560). วิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ของประติมากรรมที่ปรากฏในพระมหาเจดีย์ชัยมงคลวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2), 54-63.

ฐาปกรณ์ เครือระย้า. (2558). การศึกษารูปแบบและเทคนิควิธีการสร้างพระพุทธรูปศิลปะพม่า-ไทใหญ่ที่ปรากฏในนครลําปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 4(1), 1-18.

ตรีจันทร์ ทยาหทัย. (2565). การศึกษามิติพื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 289-311.

ไทยโรจน์ พวงมณี. (2561). การศึกษาอัตลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตพื้นที่การท่องเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สู่การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 2(1), 93-112.

ไทยโรจน์ พวงมณี, ณศิริ ศิริพริมา, คชสีห์ เจริญสุข, และ พชรมณ ใจงามดี. (2565). พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมวัดศรีจันทร์ บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลยกับการจัดการแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวของชุมชน. พิฆเนศวร์สาร, 18(2), 115-131.

ธนภูมิ วงษ์บำหรุ, วรากร สงวนทรัพย์, ปริญญา มรรคสิริสุข, และ วิกันดา สีคง. (2565). การออกแบบ พื้นที่การเรียนรู้คลองรังสิตประยูรศักดิ์ผ่านการกระบวนคิดเชิงออกแบบ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 35(2), 144-163.

พนัส จันทร์ศรีทอง. (2566). พื้นที่การเรียนรู้: ในวันที่โลกหมุนเร็ว. วารสารร่มยูงทอง, 1(1), 86-101.

พรกมล ระหาญนอก, ไทยโรจน์ พวงมณี, คชสีห์ เจริญสุข, และ พลสยาม สุนทรสนิท. (2-5 ธันวาคม 2561). แนวทางการยกระดับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชนบ้านอาฮี ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พระครูภาวนาโพธิคุณ, โสวิทย์ บำรุงภักดิ์, และ สุวิน ทองปั้น. (2558). การศึกษาวิเคราะห์ความงามรูปแกะสลักเชิงสุนทรียะในอังกอร์วัด. ธรรมทรรศน์, 14(3), 175-184.

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน. (2560). การศึกษาคุณค่าของศิลปะปูนปั้นภายในวัดตามการรับรู้ของคนในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 6(1), 1-9.

พระครูอุดรภาวนาคุณ (สจฺจาสโภ). (2563). แนวทางการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. Journal of MCU Peace Studies, 8(3), 1024-1037.

พระชยานันทมุนี, วรปรัชญ์ คำพงษ์, พระครูฉันทเจติยานุกิจ, พระปลัดนฤดล กิตติภทฺโท, และ อรพินท์ อินวงค์. (2562). ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 315-331.

พระมนชัย ถาวโร (ยางแวง), จรัส ลีกา, และ สุวิน ทองปั้น. (2564). การวิเคราะห์ความงามสิมไม้ ตามทฤษฎีจิตนิยม วัดเจริญทรงธรรมบ้านดอนปอ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(1), 1-13.

พระมหาเศรษฐศิริ ปภสฺสโร, วิโรจน์ วิชัย, และ พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2564). กระบวนการสร้าง อัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธในเชียงราย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 175-187.

พระมหาสมศักดิ์สติสมฺปนฺโน, ธีระวัฒน์ แสนคำ, และ บุญวัฒน์ บุญทะวงศ์. (2563). พระเจดีย์สำคัญในจังหวัดเลย: วิเคราะห์ประวัติศาสตร์พุทธศิลปกรรมศรัทธาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง. Journal of Modern Learning Development, 5(1), 94-107.

พระราชปรีชามุนี, พระครูสุธีคัมภีรญาณ, และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). การจัดการพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(4), 49-58.

พระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ (ธนาวงษ์) และ ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2563). การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา: รูปแบบและเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของวัดในสังคม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(3), 238-249

พิริยา พิทยาวัฒนชัย, โสวิทย์ บำรุงภักดิ์, และ พระครูปริยัติธรรมวงศ์. (2563). วิเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการใช้พุทธศิลป์และภูมิทัศน์สถานของวัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 63-74.

รุ่งทิวา ท่าน้ำ และ อธิป จันทร์สุริย์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(2), 90-111.

ฤษีเทพขาว พลอยทำ และ พูนชัย ปันธิยะ. (2564). การฟื้นฟูประเพณีการสร้างพระแผงไม้ของวัดอุมลอง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. Journal of Cultural Approach, 22(4), 96-106.

ลือชัย เลพล, ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ, และ พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน. (2565). ศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์ในพระธาตุหนองบัวต่อความเชื่อเรื่องบุญบาปของชาวพุทธในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 887-900.

วสันต์ ยอดอิ่ม. (2544). สิมพื้นถิ่นในเขตภาคอีสานตอนบน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมโชค สินนุกูล. (2560). การศึกษาศิลปะในงานออกแบบและจัดสร้างงานจิตรกรรมลายรดน้ำ. Journal of the Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, 25(2), 139-149.

สราวุธ ผาณิตรัตน์, สาธิต ทิมวัฒนบันเทิง, และ กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2564). การสร้างพื้นที่่ทางศิลปวัฒนธรรมในเขตคลองสานสู่เมืองสร้างสรรค์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 93-108.

อดุลย์ หลานวงค์ และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพุทธศิลป์จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1),