ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของสำนวนแปลภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์

Main Article Content

ธงชัย แซ่เจี่ย

บทคัดย่อ

นวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยจำนวน 2 สำนวนในช่วงเวลาที่ห่างกันเกือบ 40 ปี บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแปลนวนิยายทั้งสองสำนวน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ สำนวนแปลภาษาไทยสองสำนวนในนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ ได้แก่ สำนวนแปลของรัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ (สำนวนที่ 1) และสำนวนแปลของสรวงอัปสร กสิกรานันท์ (สำนวนที่ 2) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านเวลาที่แปลส่งผลต่อความแตกต่างของกลวิธีการแปลและการใช้ภาษาในสำนวนแปลภาษาไทยสองสำนวน นอกจากนี้ ข้อจำกัดเชิงอัตวิสัยอันสัมพันธ์กับผู้แปลยังส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความแตกต่างของสำนวนแปลทั้งสองสำนวนด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แซ่เจี่ย ธ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของสำนวนแปลภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(3), 164–186. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/263770
บท
บทความวิจัย

References

เกศราลักษณ์ ไพบูลย์กุลสิริ. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการแปลเรื่อง The Picture of Dorian Gray ของ Oscar Wilde จากสำนวนการแปลของ อ.สนิทวงศ์ และ กิตติวรรณ ซิมตระการ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

ขวัญใจ เลขะกุล. (2551). การแปลนวนิยายเรื่อง pride and prejudice ของ Jane Austen: การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนของ “จูเลียต” และสำนวนของ “แก้วคำทิพย์ ไชย” [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

โชคชัย ศรีรักษา. (2565). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทัศน์, 5(1), 23-37.

ธงชัย แซ่เจี่ย. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลในระดับประโยค: กรณีศึกษา การแปลนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 137-149.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2561). อำนาจกับการขบถ. ใน ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล (บรรณาธิการ), หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (น. 399-430). สมมติ.

พงศกร. (ม.ป.ป.). เหม เวชกร. อ่านเอา (ANOWL). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563, จาก https://anowl.co/anowlrod/readclassic/part27/

วิไลลักษณ์ เรืองมานะ. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบนวนิยายแปลเรื่อง ความพยาบาท สำนวนแม่วัน กับสำนวน ว.วินิจฉัยกุล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิษณุ กอปรสิริพัฒน์. (2548). การแปลตามหลักภาษาศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันภาษาไทย. (2561). บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม 5: กระบวนการคิดและการเขียนร้อยแก้ว. กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สถาบันภาษาไทย.

สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (18 พฤษภาคม 2563). การทับศัพท์. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp?i=0040002104011001%2F63ERJ5716056

สุวจี จันทรารักษ์. (2556). ภาษากับเพศสภาพในการแปล: กลวิธีการแปลของนักแปลเพศหญิงและเพศชายจากบทประพันธ์เรื่อง “Windmills of the Gods” โดย Sidney Sheldon [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2542). ภาษาในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ออร์เวลล์, จี. (2557). หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (พิมพ์ครั้งที่ 4, รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์, ผู้แปล). สมมติ. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1949).

ออร์เวลล์, จี. (2561). 1984 มหานครแห่งความคับแค้น (สรวงอัปสร กสิกรานันท์, ผู้แปล). แอร์โรว์ คลาสสิกบุ๊คส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1949).

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2548). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 13). ไทยวัฒนาพานิช.

Gurcaglar, S. T. (2008). Retranslation. In M. Baker and G. Saldanha (Eds.), Routledge Encyclopedia of Translation Studies (2nd eds., pp. 233-236). Routledge.

Hanna, S.F. (2006). Towards a sociology of drama translation: A Bourdieusian perspective on translations of Shakespeare’s great tragedies in Egypt [Unpublished doctoral dissertation]. University of Manchester.

Orwell, G. (1992). Nineteen eighty-four. David Campbell.

Reiss, K. (2014). Translation Criticism – The Potentials and Limitations (E. F. Rhodes, Trans.). Routledge.