มนุษยศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 : วิเคราะห์เนื้อหาและทิศทางของหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษาในอุดมศึกษาไทย

Main Article Content

ปริตต์ อรุณโอษฐ์
ดนุพล เฉลยสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหารายวิชาบังคับด้านมนุษยศาสตร์ในหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ทิศทางของมนุษยศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษา โดยมีขั้นตอนการวิจัย คือ 1) การสำรวจและรวบรวมหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ดำเนินการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาของไทย 2) การวิเคราะห์เนื้อหารายวิชาจากสาขาย่อยของมนุษยศาสตร์ ด้วยการศึกษารายวิชาต่าง ๆ จากกลุ่มวิชาบังคับในหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษา 3) การระบุทิศทางมนุษยศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษา จากการวิจัยพบว่า การจำแนกสาขาย่อยของมนุษยศาสตร์ สามารถแบ่งเป็น 1) สาขาปรัชญาและศาสนา 2) สาขาภาษา 3) สาขาประวัติศาสตร์ 4) สาขาวรรณคดี และ 5) สาขาศิลปะ หลักสูตรอาณาบริเวณศึกษาในระดับปริญญาตรี มีจำนวน 21 หลักสูตร ซึ่งพบว่าเนื้อหาในสาขาภาษาและสาขาประวัติศาสตร์ ปรากฏรายวิชาในหลักสูตรมากที่สุด ส่วนสาขาวรรณคดีปรากฏรายวิชาในหลักสูตรน้อยที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบรายวิชามนุษยศาสตร์และเนื้อหาจากหลักสูตรเก่าและหลักสูตรใหม่ พบว่ามีทิศทางและเนื้อหารายวิชาที่ใกล้เคียงเดิม ขณะที่ทิศทางมนุษยศาสตร์ควรผนวกแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อรุณโอษฐ์ ป., & เฉลยสุข ด. (2023). มนุษยศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 : วิเคราะห์เนื้อหาและทิศทางของหลักสูตรอาณาบริเวณศึกษาในอุดมศึกษาไทย . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(3), 310–345. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/262232
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา สมุทรสาคร. (2557). การวิจัยทางมนุษยศาสตร์: แนวหน้ากับชายขอบ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 (น. 207-239). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานวิจัย เรื่อง รูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาศิลปศาสตร์ (Liberal Arts Education) ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. ผู้แต่ง.

เกตุชพรรณ์ คำพุฒ. (2562) ฐานคิดว่าด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา: การปะทะสังสรรค์ระหว่างสารัตถนิยมและสากลนิยมสู่ขอบข่ายภูมิทัศน์ทางปัญญา สำรวจองค์ความรู้ด้านไทยศึกษา. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 40, 783-793.

คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดอาณาบริเวณศึกษา (Area Studies) ของสถาบันอุดมศึกษา. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์. (2560). มนุษยศาสตร์ดิจิทัลคืออะไร. https://www.arts.chula.ac.th/~pgateway/Arts100/id-4.html

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2559). อาณาบริเวณศึกษา: แนวคิด วิธีวิทยา และทิศทางการพัฒนา. โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิติ สุวรรณทัต. (2561). มนุษยศาสตร์ดิจิทัล บทความปริทัศน์. วารสารสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 15(2), 68-105.

นายกฯสั่งคุมงบฯอุดมศึกษาสาขาไม่มีงานทำ. (24 มกราคม 2561). คมชัดลึก. https://www. komchadluek.net/kom-lifestyle/310530.

ประทีป ฉัตรสุภางค์, วุฒินันท์ กันทะเตียน, และ ภัทรียา กิจเจริญ. (2556). ทิศทางการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในทศวรรษหน้า. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 79-95.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2558). ปริศนาอุษาคเนย์: การเมืองและพลวัตของอาณาบริเวณและอาณาบริเวณศึกษา. อาเซียนปริทัศน์, 1, 1–36.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. (7 ตุลาคม 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้า 10. https://acrd.tu.ac.th/course/documents/1.1/criterion_b58.PDF

มนตรี กรรพุมมาลย์. (2561). อาณาบริเวณศึกษา : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารโพธิวิจัย, 2(1), 7-19.

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมกาใช้สังคมศาสตร์อเมริกันเป็นเครื่องมือ?!?. (24 ธันวาคม 2564). ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_79791

สถาบันอาณาบริเวณศึกษา. (2558). ความเป็นมาของสถาบันอาณาบริเวณศึกษา. https://tiara-tu.ac.th/site/aboutHistory

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). สถิติอุดมศึกษา 2558-2560. https://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25620205155335_57733.pdf

สิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2564). การจัดการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส: ทบทวน ทิศทาง ท้าทาย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อภิกา ปรัชญพฤทธิ์. (2555). หลักสูตรและการเรียนการสอนอุดมศึกษา: พาราไดม์และวิธีปฏิบัติ. อินทภาษ.

อุทัย ดุลยเกษม. (2561). อนาคตของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(1), 1-18.

Ahram, I. A. (2011). The theory and method of comparative area studies. Qualitative Research, 11(1), 69-90.

Hanh, T. T. (2020). Experiences in area studies around the world. American Research Journal of Humanities & Social Science (ARJHSS), 3, 31-34.

Hoffmann, B. (2015). Area studies. https://www.britannica.com/topic/area-studies

Sil, R. (2020). The survival and adaptation of area studies. https://sk.sagepub.com/reference/the-sage-handbook-of-political-science/i1928.xml