“เพื่อความก้าวหน้าของประมงไทย...เพื่อชีวิตคือความมีเงิน”: การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีประมงทะเลไทย พ.ศ. 2489 - 2503
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการถ่ายทอดเทคโนโลยีประมงทะเลจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 งานศึกษาเกี่ยวกับการกลายเป็นอุตสาหกรรมในระยะแรกของไทยถูกอธิบายด้วยกรอบการวิเคราะห์แบบทุนนิยมข้าราชการและเศรษฐกิจแบบชาตินิยม โดยอธิบายว่าภายหลังสงครามโลกครั้ง 2 ถึงทศวรรษ 1960 ช่วงต้น กลุ่มพวกพ้องของข้าราชการทหารและพลเรือนเป็นผู้กระทำการหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ความช่วยเหลือทางการเงินจากสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงทะเลทั้งจากแง่มุมระบบเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเผยให้เห็นว่านักอุตสาหกรรมเอกชนเป็นอีกหนึ่งตัวแสดงที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงทะเลช่วงแรกเริ่ม พวกเขาเป็นผู้บุกเบิกที่กระตือรือร้นในการสร้างระบบเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมประมงทะเล บทบาทของพวกเขาในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีมีผลลัพธ์ที่หลากหลายตั้งแต่ประสบความสำเร็จ ปรับใช้ และล้มเหลว เรื่องราวของนักอุตสาหกรรมเหล่านี้ให้ภาพการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นของภาคเอกชนและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจช่วงเริ่มต้นของการกลายเป็นอุตสาหกรรมในไทย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประมง. (2547). หัวหน้าสถานีประมงทะเลคนแรก. https://www.fisheries.go.th/sf-satun/images/download/17.pdf
ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร). (2506). ตำรายาไทย อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อุทัย สาครวาสี เจ้าของห้างขายยาตรานกยูง (แม่เลื่อน) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 18 ตุลาคม 2506. อักษรสัมพันธ์.
ข่าวเบ็ดเตล็ด. (2491). ข่าวการประมง, 1(1), 37-38.
จันทรา บูรณฤกษ์, และปิยนาถ บุนนาค. (2521). การศึกษาผลกระทบทางการเมืองจากความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2463-2506). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุล วัจนะคุปต์. (2519). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท นายจุล วัจนะคุปต์ (หลวงจุลชีพพิชชาธร) ท.ม., ท.ช. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 6 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2519. ชวนพิมพ์.
คำอำลาของบรรณาธิการ. (2495). ข่าวการประมง, 5(4), 269-270.
ธัญญารัตน์ สามัตถิยะ. (2545). ความสำคัญของปลาทูต่อสังคมและเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2397-2496 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิภาพร รัชตพัฒนากุล. (2545). ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น พ.ศ.2475-2488 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิภาพร รัชตพัฒนากุล. (2562). จาก ‘มอเตอร์โบ๊ต’ ถึง โรงเรียนสอนการประมง: บทบาทของญี่ปุ่นต่ออุตสาหกรรมประมงทะเลของไทย พ.ศ. 2470-2488. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 32(1), 69-88.
นิภาพร รัชตพัฒนากุล. (2563). ประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมประมงไทย: การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างไทยกับต่างประเทศ พ.ศ. 2470-2503. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญ อินทรัมพรรย์. (2539). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญ อินทรัมพรรย์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2539. ชวนพิมพ์.
ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องตั้งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ. (2469). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43, (3 ตุลาคม 2469), 2500.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2528). ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย: คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถิติการประมง. (2495). ข่าวการประมง, 5(4), 333.
สว่าง เจริญผล. (2494ก). พลร่มประมง. ข่าวการประมง, 4(4), 325-330.
สว่าง เจริญผล. (2494ข). ทรัพยากรทางด้านการประมงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิค. ข่าวการประมง, 4(3), 201-218.
สว่าง เจริญผล. (2495ค). การดูงานบนเรือสำรวจสมุทรศาสตร์กาลาเซีย. ข่าวการประมง, 5(1), 13-23.
สว่าง เจริญผล. (2495). การสำรวจการประมงทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย. ข่าวการประมง, 5(2), 89-97.
สว่าง เจริญผล, และเสน่ห์ ร่วมรักษ์. (2492). สรุปผลการสำรวจประมงทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย. ข่าวการประมง, 2(2), 99-102.
เสน่ห์ ร่วมรักษ์. (2491). การทำโป๊ะเชือกในประเทศญี่ปุ่น. ข่าวการประมง, 1(2), 60-64.
สำรอง เศวตเศรนี. (2493). ข่าวการประมงในและนอกประเทศ. ข่าวการประมง, 3(1), 99-116.
สำรอง เศวตเศรนี. (2494). ข่าวการประมงในและนอกประเทศ. ข่าวการประมง, 4(4), 335-344.
สำรอง เศวตเศรนี. (2495). ข่าวการประมงในและนอกประเทศ. ข่าวการประมง, 5(1), 71-74.
หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2548). ฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p244.html.
อุดม สังขะทรัพย์. (2528). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยโทอุดม สังขะทรัพย์ ท.ม. ณ วัดธาตุทอง 8 สิงหาคม 2528. ธีรพงษ์การพิมพ์.
อภิชาติ สถิตนิรามัย. (2556). รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540. ฟ้าเดียวกัน.
Beatty, E. (2003). Approaches to Technology Transfer in History and the Case of Nineteenth-Century Mexico. Comparative Technology Transfer and Society. 1(2), 167-200.
Butcher, J. G. (2004). The Closing of the Frontier: A History of the Marine Fisheries of Southeast Asia c.1850-2000. ISEAS Publication.
Faughn, J. L. (1963). Final Report of Naga Expedition. University of California.
Hughes, T. P. (2012). The Evolution of Large Technological Systems. In T.J. Pinch, T. P. Hughes, & Wiebe (Eds.). The Social Construction of Technological System: New Directions in the Sociology and History of Technology.
MacKenzie, D., & Judy, W. (2012). Introductory essay: the social shaping of technology. LSE Research Online. http://eprints.lse.ac.uk/28638/
MacKenzie, D., & Judy, W. (1985). Introductory essay: the social shaping of technology. In D. MacKenzie, & J. Wajcman (Eds.). The social shaping of Technology, Open University Press.
Natasha, S. M., & Karolin, A. K. (2018). Theoretical perspectives on thechnology and society: Implications for understanding the relationship between ICTs and family life. In B. Neves, & C. Casimiro (Eds.). Connecting Families?: Information & Communication Technologies, generations, and the life course. Policy Press.
Radosevic, S. (1999). International Technology Transfer and 'Catch Up' in Economic Development. Cheltenham.
Robinson, M. K. (1974). The physical oceanography of the Gulf of Thailand, Naga Expedition; Bathythermograph. University of California.
สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ. [3] สร 0201.31/9 เรื่องจัดตั้งบริษัทและขายปลาทะเล (บริษัทประมงไทย) 22 พฤษภาคม 2477 - 8 ธันวาคม 2495
สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ. [3] สร 0201.31/9 ปึก 2 เรื่องจัดตั้งบริษัทและขายปลาทะเล (บริษัทประมงไทย) 22 พฤษภาคม 2477 - 8 ธันวาคม 2495
สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ. [3] สร.0201.31/48 โรงเรียนการประมงของกระทรวงกลาโหมและการจับปลาของบริษัทเนาวรัตน์ (4 สิงหาคม 2494 - 6 พฤศจิกายน 2495)
สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ. [3] สร.0201.31/50 ไม่อนุญาตให้บริษัทที่มีคนต่างด้าวร่วมอยู่ด้วยจับปลาในอ่าวไทย (28 มกราคม - 22 กันยายน 2495)
สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ. [3] สร.0201.31/81 นายสงวน สิทธิอำนวย ขออนุญาตทำการประมงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (28 พฤศจิกายน 2501 - 14 มกราคม 2502)