สัมพันธภาพ (ที่ไม่เคยเปิดเผย) ระหว่างฟาสซิสต์อิตาลีกับรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์

Main Article Content

ปาจรีย์ ทาชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาสัมพันธภาพที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนระหว่างรัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลีของเบนิโต มุสโสลินี กับรัฐบาลไทยหลังการปฏิวัติสยาม  ปี พ.ศ. 2475 ในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยแรก (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2487) จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นประเด็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลี ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ที่ส่งตรงมายังประเทศไทยอย่างเงียบเชียบ เช่น ใบปิดโฆษณา จุลสาร และหนังสือ ผู้วิจัยอ้างอิงข้อมูลจากจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรมประชานิยม รวมทั้งคณะกรรมาธิการที่รับผิดชอบงานด้านเผยแพร่สื่อโฆษณาชวนเชื่อของประเทศอิตาลีเป็นหลัก ซึ่งนับเป็นเอกสารปฐมภูมิชิ้นสำคัญในการทำงาน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการค้นหา  จิ๊กซอว์ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าวที่สูญหายไป และนำกลับมาร้อยเรียงต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมืองอันแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ รวมถึงกลยุทธ์ที่รัฐบาลฟาสซิสต์ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับอำนาจอันยิ่งใหญ่ของระบอบการปกครองนี้ในต่างแดน ตลอดจนการที่รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นักคิด นักเขียน และปัญญาชนคนสำคัญในแวดวงการเมือง ไทย ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากฟาสซิสต์ในขณะนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความนิยมในตัวตนของมุสโสลินี ระบอบฟาสซิสต์อิตาลี แนวคิดชาตินิยมและรัฐนิยมผ่านการสร้างสรรค์ผลงานประเภทต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทาชาติ ป. (2020). สัมพันธภาพ (ที่ไม่เคยเปิดเผย) ระหว่างฟาสซิสต์อิตาลีกับรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์ . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(2), 282–314. https://doi.org/10.14456/lartstu.2020.23
บท
บทความวิจัย

References

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2550). การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรมสยาม สมัยไทยประยุกต์ชาตินิยม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2552). ศิลปะสถาปัตยกรรมคณะราษฎร: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ณัฐพล ใจจริง. (2563). ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทย สมัยคณะราษฎร. กรุงเทพฯ: มติชน.

ดำริห์ ปัทมะศิริ. (2491). บันทึกความจำและกรณีสวรรคต. กรุงเทพฯ: สุรีรัตน์.

ประอรรัตน์ บูรณมาตร์. (2528). หลวงวิจิตรวาทการกับบทละครประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2542). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่: ตรัสวิน.

พรเลิศ พันธุ์วัฒนา. (2521). โครงการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯไปเพชรบูรณ์ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พิมาน แจ่มจรัส. (2544). ชีวิต มันสมอง และการต่อสู้ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

ไมเคิล ไรท. (2535). “อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์โกหก ที่ถูกดัดแปลงให้พูดความจริง”. ศิลปวัฒนธรรม, 14(2), 178-181.

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ. (2547). สมุทรปราการเมืองแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: วิทยบรรณ.

ส.สีมา. (2553). สถาปัตย์ อาร์ต เดกอ (ที่ลพบุรี) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม. ศิลปวัฒนธรรม, 41(7). สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.silpa-mag.com/history/ article_50109.

สภาผู้แทนราษฎร. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร. ครั้งที่ 4/ 2487, สมัยที่ 2 ชุดที่ 3, 20 กรกฎาคม, 2487.

สวัสดิ์ จงกล. (2553). วังวินด์เซอร์. กรุงเทพฯ: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.memohall.chula.ac.th/article/วังวินด์เซอร์.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. หนังสือที่ 24/156 ของกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง รัฐนิยม ฉบับที่ 11 ว่าด้วยกิจวัตรประจำวันของคนไทย, 8 กันยายน พ.ศ. 2484.

หนึ่งฤดี โลหผล. (2553). ภราดามหามิตร ไทย-อิตาลี: 140 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี (Buon Fratello e Amico. Thailandia-Italia: 140 Anni di Relazioni Italo-Thailandesi. กรุงเทพฯ: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. หนังสือพิมพ์ศรีกรุง. 10 กุมภาพันธ์ 2478.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. Bangkok Times. 3 ตุลาคม พ.ศ. 2478.

อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2540). ปรัชญา อินเดียร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อติภพ ภัทรเดชไพศาล. (2556). เสียงเพลง วัฒนธรรม อำนาจ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: งานดี.

อนันต์ธนา อังกินันทน์, และเกื้อกูล คุปรัตน์. (2530). สื่อสารมวลชนและประชาสัมพันธ์เพื่อการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. (2561). เรื่อง (ที่คนอาจไม่ค่อยจะรู้) เกี่ยวกับเสนีย์ เสาวพงศ์ ในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล. มติชนสุดสัปดาห์. ฉบับวันที่ 17-23 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.matichonweekly.com/literature-book/ article_128350.

Baravelli, G. C. (1937). Land reclamation scheme in Italy. Firenze: Vallecchi Editore.

Collotti, E. (1982). Nazismo e Società tedesca (1933-1945). Torino: Loeschen.

De Grazia, V. (1981). The Culture of Consent: Mass Organizations of Leisure in Fascist Italy. Cambridge: Cambridge University Press.

Ferretti, V. (1986). Politica e cultura: origini e attività dell’IsMEO durante il regime fascista. Storia Contemporanea, 17, 779-819.

Garzarelli, B. (2002). “Fascismo e propaganda all’estero: Le origini della Direzione generale per la propaganda (1933-1934)”. Studi Storici, 43(2), 477-520.

Hell, S. M. (2007). Siam and the League of Nations: Modernization, Sovereignty and Multilateral Diplomacy 1920-1940, Proefschrift ter verkrijging van de graad van Doctor aan de Universiteit Leiden, Leiden.

Istituto poligrafico e zecca dello Stato. (1995). Fascismo e Società. Roma: Editalia.

Legge Mussolini del 1928 n. 3134 sulla bonifica integrale. Retrieved July 1, 2020, from http://it.wikipedia.org/wiki/Bonifica_agraria.

Lyttelton, A. (1973). The Seizure of Power: Fascism in Italy 1919-1929. New York: Charles’s Scribner’s Sons.

Major, J. R. (1844). A Guide to the Reading of the Greek Tragedians: Being a Series of Articles on the Greek Drama, Greek Metres, and Canons of Criticism. London: A. Spottiswoode.

Ministero della Cultura Popolare. (1938-1943). Propaganda. Busta 197. Fasc. «Siam». Roma: Archivio Centrale dello Stato.

Opera Nazionale Dopolavoro. (1937). The Opera nazionale dopolavoro: (National leisure hours institution in Italy). Roma: Novissima.

Reynolds, E. B. (2004). “Phibun Songkhram and Thai Nationalism in the Fascist Era”. European Journal of East Asian Studies, 3(1), 99-134.

Santoro, S. (2005). L’Italia e l’Europa orientale: diplomazia culturale e propaganda 1918-1943. Milano: FrancoAngeli.

Tachart, P. (2015). Il Cinema di propaganda italiano e thailandese dal 1934 al 1943. (Tesi di Dottorato di Ricerca in Italianistica). Università degli Studi di Roma “Tor Vergata”, Roma. United Press. January 30, 1935. Retrieved July 26, 2020, from https://news.google.com/newspapers?id=ozVPAAAAIBAJ&sjid=RyEEAAAAIBAJ&pg=5945,4192018&dq=richard+washburn+child&hl=en.

Zizzo, R. (2002). Mussolini Duce si diventa. Santarcangelo di Rimini: Rusconi Libri.