เศรษฐศาสตร์การเมือง กับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอุดมการณ์สู่การกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ

Main Article Content

นุชนารถ สมควร
รักชนก ชำนาญมาก
วณิชชา ณรงค์ชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาเงื่อนไขการกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ ในจังหวัดขอนแก่น โดยการวิเคราะห์ตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง เน้นการวิพากษ์วิเคราะห์มิติเชิงประวัติศาสตร์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นองค์รวม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกต เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ได้อย่างครอบคลุม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้รู้ในชุมชน 4 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 3 คน เกษตรกรผู้ประกอบการ 15 คน และสมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ประกอบการ 4 คน ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง และการบอกต่อ ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนและค่านิยมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญปัญหาและความเสี่ยงหลายด้าน นำมาซึ่งความจำเป็นในการปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ สู่การมีระบบคิดที่อิงอยู่กับการคิดคำนวณต้นทุนและผลกำไรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีอุดมการณ์ในการผลิตทางการเกษตรที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการมีทักษะความสามารถ ประสบการณ์ และต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับระบบตลาด นโยบายการพัฒนา และเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม และค่านิยมอุดมการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จนนำมาสู่การตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต การค้า การลงทุนให้มีความหลากหลาย เพื่อการยกระดับทางอาชีพสู่การเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการได้ในที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สมควร น., ชำนาญมาก ร., & ณรงค์ชัย ว. (2021). เศรษฐศาสตร์การเมือง กับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอุดมการณ์สู่การกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 216–247. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.25
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล. (2552). ทางเลือกเศรษฐกิจของชาวนาปากพนัง: กรณีศึกษาชาวนาบ้านวัดโบสถ์ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กนกวรรณ มะโนรมย์. (2559). “ชาวนายุคใหม่” แห่งที่ราบลุ่มราษีไศล. http://www.landactionthai.org/land/index.php?option=com_content&view=article&id=1526:ชาวนายุคใหม่-แห่งที่ราบลุ่มราษีไศล&catid=87&Itemid=546

เข็มชาติ สมใจวงษ์. (2555). ศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 5-8.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2548). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชุติกาญจน์ แก้วงาม. (2560). จากเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเรื่องเล่าชีวิตของผู้ประกอบการร้านอาหารข้าวใหม่ปลามันอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 5 คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

ธิติญา เหล่าอัน. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของสังคมชาวนาอีสานตั้งแต่ พ.ศ. 2500-2550: ศึกษากรณีหมู่บ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2555). เศรษฐศาสตร์การเมืองนิเวศวิทยาการเมืองและนิเวศสังคมนิยม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 1(1), 217-233.

ปกป้อง จันวิทย์. (2557). ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์สองกระแส. http://pokpong.org/writing/two-econ-schools/

สิริพร รอดเกลี้ยง. (2555). การใช้ทุนทางสังคมเพื่อสร้างและขยายตลาดยากลาย: ศึกษากรณีเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค "ท่าศาลา-ปัตตานี" [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สุรสม กฤษณะจูฑะ. (2554). ยุทธวิธีการดำรงชีพและการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนาอีสาน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฉบับพิเศษ(1), 271-299.

สุริยา สมุทคุปติ์. (2538). กรวด-หิน-ดิน-ทราย: รัฐ ทุนนิยม และชาวนาอีสานในยุคโลกาภิวัตน์. ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สมศรี ชัยวณิชยา. (2548). นโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาลไทย ระหว่าง พ.ศ. 2494-2519. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น. (2561). แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรปี 2561. http://www.khonkaen.doae.go.th/read-203

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2555). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Report%20Analysis%20Province/

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จาก “ชาวนา” สู่ “ผู้ประกอบการ”. มติชน.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย: ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2554). ชนบทอีสานปรับโครงสร้าง ชาวบ้านปรับอะไร ใน เสรีนิยมใหม่ในเศรษฐกิจอีสาน. วารสารศิลปศาสตร์, ฉบับพิเศษ(1), 6-35.

Akram-Lodhi, A. H. (1998). The Agrarian Question, Past and Present. The Journal of Peasant Studies, 25(4), 134-149.

Bernstein, H. (1996). Agrarian Questions Then and Now, in Agrarian Question: Essays in Appreciation. Frank Cass.

Byres, T. J. (1996). Capitalism from Above and Capitalism from Below: An essay in comparative Political Economy. Macmillan.

Greenwood, D. J. (1973). The Political Economy of Family Farming: Some Anthropological Perspectives on Rationality and Adaptation. The Rural Development Committee, Center for International Studies, Cornell University.

Keyes, C. F. (1983). Economic Action and Buddhist Morality in a Thai Village. Journal of Asian Studies, 42(4), 851-868.

Keyes, C. F. (2005). Development in Rural Northeastern Thailand: A Perspective over 4 Decades. A paper presented at a seminar held by Faculty of Humanities and Social Sciences. Khon Kaen University.

McElwee, G. (2006). Farmers as Entrepreneurs: Developing Competitive Skills. Journal of Development Entrepreneurship, 11(3), 187-206.

McElwee, G. (2008). A taxonomy of entrepreneurial farmers. International Journal of Entrepreneurship and Small Business, 6, 465-478.

Popkin, S. L. (1979). The Rational Peasant: The Political Economy of Rural Society in Vietnam. University of California Press.

Rigg, J. (1989). International Contract Labor Migration and the Village Economy: The Case of Tambon Don Han, Northeastern Thailand. Papers of the East-West Population Institute, 112.

Scott, J. C. (1976). The Moral Economy of the Peasant: Reabellion and Sub-sistence in Southeast Asia. Yale University Press.

Thongyou, M. (2003). Sub-contracting in Rural Thailand. Journal of Contemporary Asia, 33(1), 3-37.

Walker, A. (2012). Thailand’s Political Peasants Power in the Modern Rural Economy. University of Wisconsin Press.