สักขาลาย: อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท

Main Article Content

ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว

บทคัดย่อ

สักขาลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่บ่งบอกความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบและความเชื่อเกี่ยวกับรอยสักขาลายของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ต.โพน อ.คำม่วง และ ต.หนองช้าง อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ และ ต.หนองนกเขียน อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ข้อมูลของการวิจัยเก็บรวบรวมจากผู้ที่มีรอยสักขาลาย จำนวน 17 คน และกลุ่มบุคคลแวดล้อม เช่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในครอบครัว จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบรอยสักขาลายของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทส่วนใหญ่ประกอบด้วยลายสักรูปตัวมอม รูปดอกไม้ รูปนกน้อย รูปใบมะขาม/เม็ดมะขาม รูปกรรไกร/ มีดฉนาก/คีมตัดหมาก รูปแข่ว/เขี้ยวหมาตาย ลายสักเหล่านั้นอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับรอยสักขาลายของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ การสักขาลายเป็นประเพณีนิยมของผู้ชาย การสักขายลายเป็นเครื่องหมายของการเป็นกลุ่มเดียวกัน การสักขาลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นลูกผู้ชาย การสักขาลายมีผลต่อการเลือกคู่ครอง และการสักขาลายเกี่ยวข้องกับตัวมอม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แสงฉัตรแก้ว ศ. (2021). สักขาลาย: อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 248–273. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.26
บท
บทความวิจัย

References

ก้องสกุล กวินรวีกุล. (2545). การสร้างร่างกายพลเมืองไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2481-2487. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2546). อีสานเมื่อวันวาน. จิรรัชการพิมพ์.

งามคักงามหลาย...โฮมฮักรักร่วมใจ “วันผู้ไทโลก”. (21 เมษายน 2560). MGR Online. https://mgronline.com/onlinesection/detail/

ชนาธิป สุวรรณทอง. (2556). ศึกษาและสืบสานมรดกฮูปแต้ม. isan conservation. http://isan.tiewrussia.com

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2526). ภูไทย. อักษรสยาม การพิมพ์.

นงค์นุช ไพรพิบูลย์กิจ. (2541). ลายศิลป์ไทย. ฐานการพิมพ์.

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2555). ผู้คนและชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขงในงานค้นคว้าของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ดำรงวิชาการ, ฉบับพิเศษ, 153 -180.

วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (15 พฤศจิกายน 2557). ไทหล่มและลาวพุงขาว. https://wisonk.wordpress.com/ 2014/11/15/ไทหล่มและลาวพุงขาว/

ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว. (2561). “สักขาลาย” อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น และชัยภูมิ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต สารสนเทศเพชรบุรี.

สักขาลายของชาวอีสานสมัยโบราณ. (4 พฤษภาคม 2557). ซำบายดี Banhae. http://damrong102.blogspot.com/2014/05/blog-post_4.html

สุเทพ ไชยขันธ์. (2556). ผู้ไท ลูกแถน. ตถาตา.

องค์ บรรจุน. (2553). สยาม: หลากเผ่าหลายพันธุ์. มติชน.