สถานภาพการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magical Realism) ในงานวิชาการไทยรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2543 - 2563)

Main Article Content

อัษฎาวุธ ไชยวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กลุ่มข้อมูลแนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในงานวิชาการไทยรอบ 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2543-2563) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ผลการศึกษา พบว่า ประเภทของงานวิชาการไทยที่วิเคราะห์โดยใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ มีทั้งสิ้น จำนวน 20 เรื่อง ดังนี้ บทความวิชาการจำนวน 10 เรื่อง วิทยานิพนธ์ จำนวน 7 เรื่อง หนังสือ จำนวน 2 เรื่อง และงานวิจัยอิสระ จำนวน 1 เรื่อง สถาบันการศึกษาที่ใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์มีทั้งหมด  5 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ จำนวน 6 เรื่อง สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 1 เรื่อง สาขาวิชาภาษาสเปน จำนวน 1 เรื่อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ จำนวน 7 เรื่อง มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาทฤษฎีศิลป์ จำนวน 2 เรื่อง สาขาภาษาไทย จำนวน 1 เรื่อง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาภาษาไทย จำนวน 1 เรื่อง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร จำนวน 1 เรื่อง ประเภทของข้อมูลที่นำมาใช้พบ จำนวน 5 ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมผสม จำนวน 9 เรื่อง นวนิยาย จำนวน 6 เรื่อง สื่อภาพยนตร์ จำนวน 2 เรื่อง สื่อศิลปะ จำนวน 2 เรื่อง และเรื่องสั้น จำนวน 1 เรื่อง ในด้านประเด็นที่นำมาวิเคราะห์พบจำนวน 4 ประเด็น ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพัฒนาการ การวิเคราะห์เชิงสังคม การวิเคราะห์เฉพาะเรื่อง และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ การศึกษาครั้งนี้พบว่า    งานวิชาการไทยมุ่งเชิงบูรณาการมากขึ้นไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มสาขาภาษาและวรรณคดี แต่มีการนำไปใช้ในสื่อศิลปะอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการเปิดพื้นที่ในการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ให้ขยายกว้างออกไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ไชยวรรณ อ. (2021). สถานภาพการใช้แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magical Realism) ในงานวิชาการไทยรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2543 - 2563) . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 564–590. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.38
บท
บทความวิชาการ

References

กัญญา วัฒนกุล. (2550). สัจนิยมมหัศจรรย์และสหบทในนวนิยายเรื่อง คาฟกา ออน เดอะชอร์ของฮารุกิ มูราคามิ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศวรางค์ นิลวาส. (2552). การวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2543). วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์. สารคดี, 16(183), 152-154.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2552). วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สุนทรียศาสตร์ของการต่อต้านและการเมืองว่าด้วยอัตลักษณ์วรรณกรรม. รัฐศาสตร์สาร รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี/รัฐศาสตร์สาร 30 ปี, 2, 53-87.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2555ก). กาเบรียล การ์เซีย มาเกซกับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกา. มติชนสุดสัปดาห์, 32, 1639-1650.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2555ข). สัจนิยมมหัศจรรย์ในคาถาภูมิปัญญาท้องถิ่น. อ่าน, 4(1), 36-62.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2556). การแปรอุปมาให้เป็นความมหัศจรรย์และการแปรความมหัศจรรย์ให้เป็นอุปมา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ไทยและละตินอเมริกัน. รัฐศาสตร์สาร, 34(2), 1-30.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). สัจนิยมมหัศจรรย์: ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์ริสันและวรรณกรรมไทย. อ่าน.

ธงชัย แซ่เจี่ย. (2558). สัจนิยมมหัศจรรย์กับการนำเสนอภาพความรักของเกย์ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง คืนนั้น. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 10 ประจำปี 2558 เรื่อง ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 22 ธันวาคม 2558.

นัทธมน เปรมสำราญ. (2562). เรื่องเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยปี 2557-2560 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพวรรณ รองทอง. (2543). กำเนิดและพัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญฑริก บุญพบ. (2559). วิเคราะห์การใช้แผนที่ในงานศิลปะร่วมสมัย: ศึกษางานของกีเยอโม ควีทกา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชราภรณ์ หนังสือ. (2562). ศิลปะ จิตวิญญาณ(อ)สัจนิยมมหัศจรรย์ ในภาพยนตร์ เรื่อง Birdman (2014). อ่านคนละเรื่อง (Read Other-Wise) ปริทัศน์งานวิจารณ์ร่วมสมัย, ฉบับเนื่องในวาระถูกกำหนดให้เกษียณอายุราชการของชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ 29 กันยายน 2561, น. 81-89.

ภาสุรี ลือสกุล. (2561). สัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา: ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ วรรณกรรม. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาวดี ปาแปง. (2556). ลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในบริบทสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2548). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทยกับวาทกรรมแห่งความเป็นอื่น. วารสารอักษรศาสตร์, 34(2), 84-106.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2551). พื้นที่กับการเดินทางข้ามวัฒนธรรมในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์. วารสารอักษรศาสตร์, (ฉบับพิเศษ), 29-60.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2554). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หัตถกาญจน์ อารีศิลป์. (2556). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุสรณ์ ติปยานนท์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chotiudompant, S. (2008). Thai Magical and Globalization. In T. Chong (Ed.). Globalization and Its Counter Forces in Southeast Asia (pp. 380-395). Institute of Southeast Asia Studies.