อรรถปริวรรต กระบวนการถอดบทเรียนกิจกรรมนักศึกษา ของผู้นำนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกระบวนการถอดบทเรียนกิจกรรมนักศึกษาจากประสบการณ์ของผู้นำนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรต รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของไดเคลแมนและอัลเลน นําเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะกระบวนการถอดบทเรียนกิจกรรมนักศึกษาจากประสบการณ์ของผู้นำนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มี 3 ลักษณะ คือ 1) กระบวนการถอดบทเรียนเป็นการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมทางสังคม 2) กระบวนการถอดบทเรียนเกิดจากกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และ 3) กระบวนการถอดบทเรียนเป็นวิธีวิทยาเพื่อการพัฒนาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2560). การถอดบทเรียน. เดลินิวส์. www.dailynews.co.th/article/58071.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. (2541). พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/concepts_of_developmental_psychology/02_5.html.
ปัญจภรณ์ ยะเกษม. (2557). ประสบการณ์การเป็นแม่ของวัยรุ่น. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH, 8(1).
พระพหรมคุณากรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 10). มูลนิธิโกมลคีทอง
มงคลชัย วิริยะพินิจ. (2556). รวมแนวคิดหลากมุมมอง องค์แห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ภาควิชาการ. ส่องสยาม.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). อรรถปริวรรตศาสตร์. อัปเดต 20 มีนาคม 2562. สารานุกรมออนไลน์. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. มูลนิธิสยามกัมมาจล. เอสอาร์พริ้นติ้ง.
ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2549). บทเรียนของการถอดบทเรียนในการจัดการความรู้ประชาสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล. พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). เอกสารสรุปผลการสัมมนาสมาคมกิจการนักศึกษาภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2570. https://backend.tsri.or.th/files/trf/2/docs
อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2549). กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลง: จากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย. วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.
อัญญา ปลดเปลื้อง. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 23(2), 1-10.
อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง. (2561). ถอดบทเรียน “ปัญญาอนาคต” หวังยกระดับทักษะการเรียนรู้เชิงบูรณาการสำหรับนักศึกษา ผ่านโครงการสนุกกับค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 14. http://www.sat2018.sat.psu.ac.th/main/images/Download/190112.pdf
Asia Pacific student Service Association. (2008). Student Affairs and Services. 11th Asia Pacific student Service Association International Conference.
Diekelmann N., & Allen, D. (1989). Hermeneutic Analysis of the NLN’s Criteria for the Appraisal of the Baccalaureate Programs. National League for Nursing, New York.
Heidegger, M. (1962). Being and Time (Mac Quaeeie, J. & Robinson, E. trans.). Harper & Row, New York.
Holloway I., & Wheeler S. (1996). Qualitative Research for Nurses. Blackwell.
Kahane, A. (2012). Transformative scenario planning: working together to change the future. Berrett-Koehler Publishers.
Koch,T. (1995). Interpretive approaches in nursing research: the influence of Husserl and Heidegger. Journal of Advanced Nursing, 21, 827-836.
Manville, B. (2001). Learning in the new economy. Leader to leader, 20, 36-45.
Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning. Nicholas Brealey Publishing.