กรอบความคิดเกี่ยวกับ “ไทย” ที่นำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือพิมพ์รัสเซีย: กรณีศึกษา “Izvestia” และ “Komsomolskaya Pravda”

Main Article Content

ปริตต์ อรุณโอษฐ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์กรอบความคิดหลักเกี่ยวกับไทยในหนังสือพิมพ์รัสเซีย “Izvestia” และ “Komsomolskaya Pravda” โดยการใช้ทฤษฎี วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยมี 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาตัวบทในรูปของกรอบความคิดหลักเกี่ยวกับไทยที่ถูกนำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษาต่าง ๆ 2) เพื่อศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมหรือกระบวนการผลิตการบริโภคตัวบทของหนังสือพิมพ์จากสองบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ 3) เพื่อศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับไทย ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทในหนังสือพิมพ์จากสองบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์นำเสนอ 5 กรอบความคิดหลักเกี่ยวกับไทย คือ “ไทยมีความขัดแย้งทางการเมือง” “ไทยมีปัญหาทางสังคม” “ไทยมีความเสี่ยงต่อการมาท่องเที่ยวของชาวรัสเซีย” “ไทยมีวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์” “ไทยมีวัฒนธรรมในฐานะเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าได้” กรอบความคิดต่าง ๆ ถูกนำเสนอโดยการใช้กลวิธีทางภาษาต่าง ๆ ได้แก่ การใช้คำศัพท์ต่าง ๆ คำยืมในภาษาไทย อุปลักษณ์ ทัศนภาวะ มูลบท การอ้างเหตุผล เป็นต้น หนังสือพิมพ์รัสเซีย “Izvestia” และ “Komsomolskaya Pravda” เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มีการเผยแพร่ผ่านสิ่งตีพิมพ์และสิ่งพิมพ์ออนไลน์ เน้นการนำเสนอข่าวด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งในและต่างประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ชาวรัสเซียวัยทำงานที่มีรายได้มั่นคงซึ่งผู้อ่านกลุ่มใหญ่จะมีอายุ 45 ปีขึ้นไป ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับไทยข้างต้นคือ นโยบายการท่องเที่ยวและเผยแพร่วัฒนธรรมของไทย การเข้ามาท่องเที่ยวของคนรัสเซียในไทย การเคลื่อนย้ายวัฒนธรรมไทยไปรัสเซีย และปัญหาทางสังคมและการเมืองในไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อรุณโอษฐ์ ป. (2021). กรอบความคิดเกี่ยวกับ “ไทย” ที่นำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือพิมพ์รัสเซีย: กรณีศึกษา “Izvestia” และ “Komsomolskaya Pravda”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 330–362. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.13
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙. สืบค้นจาก http://www.wise.co.th/wise/References/Tourism_Industry/National_Tourism_Development_Plan_2555_2559_new.pdf

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2558). กรอบคิดติดยึด. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/article/355829

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. (2550). นักท่องเที่ยวรัสเซีย: ตลาดท่องเที่ยวใหญ่อันดับ 2 ของพัทยา. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/33510

นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย. (2553). นโยบายของ ททท. สืบค้นจาก http://www.thaitourism.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538746545

สามชาย ศรีสันต์. (2557). วิธีวิทยาวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ในการศึกษาการพัฒนา. ปทุมธานี: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี. (2544). การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย. สืบค้นจาก http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99172258&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=2&meet_date_mm=10&meet_date_yyyy=2544&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=&meet_date_mm2=&meet_date_yyyy2=

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). คนไทยมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2557). สถิติคดีอาญาในรอบ 10 ปี. สืบค้นจาก https://www.tcijthai.com/news/2014/06/watch/4440

Bordukova, V. (2019). Tailand v Rossii: kak odna strana povliyala na biznes-industriyu drugoj [Thailand in Russia: how one country affected the another business industry]. Retrieved January 10, 2020, from https://incrussia.ru/understand/thai-style-in-ru/

Enciklopediya «vsemirnaya istoriya» [Encyclopedia of world history]. (n.d.). “Izvestia”. Retrieved October 10, 2019, from https://w.histrf.ru/articles/article/show/izviestiia

Ex Libris. (2019). TPR – reyting SMI [TPR (Title Popularity Ranking) - Media rankings]. Retrieved October 10, 2019, from https://exlibris.ru/rejting/

Fairclough, N. (1992). Discourse and social change. Cambridge: Polity press.

Fairclough, N. (1995a). Critical discourse analysis: the critical study of language. London: Longman.

Fairclough, N. (1995b). Media discourse. London: Arnold.

Fairclough, N. (2001). The dialectics of discourse. Textus, 14(2), 231-242.

Informekspress. (n.d.). Gazeta «Izvestiya» [newspaper of “izvestia”]. Retrieved from http://media.informexpress.ru/izvestiya/

Komsomolskaya Pravda. (2009). Tirazh gazety «Komsomol'skaya pravda» [Circulation of the newspaper “Komsomolskaya Pravda”]. Retrieved from https://www.kp.ru/daily/24257/454484/

Malkov, P. V. (Ed.). (2019). Rossiya v tsifrakh. 2019: Krat.stat.sb [Russia by the numbers 2019: statistical digest]. Moscow: Rosstat.

RIA Novosti. (2010). "Komsomol'skaya pravda": istoriya i nyneshnij den' gazety [“Komsomolskaya Pravda”: history and current day of the newspaper]. Retrieved from https://ria.ru/20100524/236957896.html

RIA Novosti. (2012). Osnovnye etapy razvitiya gazety "Izvestiya" [Main stages of development of the newspaper “Izvestia”]. Retrieved from https://ria.ru/20120313/592628788.html

Reklamnoe agentstvo. (n.d.). Reklama v gazete: Komsomol'skaya pravda [Advertising in the newspaper:

komsomolskaya pravda]. Retrieved from http://www.profadv.ru/reklama-v-presse1/natsionalnaia-pressa/reklama-v-gazete-komsomolskaia-pravda/

Rossiya - Kul'tura. (2005). V Rossii – Dni kul'tury Tailanda [In Russia – the Days of culture of Thailand]. Retrieved from https://tvkultura.ru/article/show/ article_id/56125/

Russian National Corpus. (2003). Tajskij [Thai]. Retrieved from http://www.ruscorpora.ru

Saeed, J. I. (2003). Semantics (2nd ed). Cornwall: Blackwell Publishing.