การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้สูงอายุ คุณค่าและความท้าทาย ในสังคมเมืองยุคสมัยใหม่: กรณีศึกษาตำบลบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน
เฉลิมขวัญ สิงห์วี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในตำบลบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าของผู้สูงอายุในชุมชน และความท้าทายของภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในสังคมเมืองยุคสมัยใหม่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชนและผู้สูงอายุที่มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ ทุเรียนนนท์ มะม่วงพันธุ์ยายกล่ำ กล้วยอบแผ่น และอาหารไทยโบราณ 2) คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ได้แก่ คุณค่าเอกลักษณ์ของชุมชน คุณค่าทางประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คุณค่าการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคุณค่าทางสังคม 3) คุณค่าของผู้สูงอายุในชุมชน ได้แก่ คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์มาก่อน คุณค่าในฐานะผู้อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณค่าในฐานะปราชญ์ผู้รอบรู้ คุณค่าในฐานะผู้ธำรงรักษาเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน และคุณค่าทางความคิด และสติปัญญา 4) ความท้าทายของภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุในสังคมเมืองยุคสมัยใหม่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สูญหายของภูมิปัญญาท้องถิ่น และการละเลยผู้สูงอายุในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงศ์คุ้มสิน ธ., & สิงห์วี เ. . (2021). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้สูงอายุ คุณค่าและความท้าทาย ในสังคมเมืองยุคสมัยใหม่: กรณีศึกษาตำบลบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 363–395. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.14
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วงษาสันต์. (2552). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 แยกตามตำบล. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/know/1/238.

กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย. (2560). ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.

กุศล สุนทรธาดา. (2553). คุณค่าด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุณยมานนท์ (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม 2553: คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

โชติกา สิงหาเทพ, ธนิกานต์ ศรีจันทร์, และเสาวนีย์ จันทสังข์. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นันธวัช นุนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 17-26.

แผนชุมชนตำบลบางรักน้อย. (2560). แผนชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นจาก file:///C:/Users/Maitree/Desktop/แผนชุมชนตำบลบางรักน้อย.pdf.

พงษ์ไพบูลย์ ศิลาวราเวทย์. (2545). สถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, และเรวดี สุวรรณนพเก้า. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านนนทบุรี. (2562). ประวัติทุเรียนนนท์. สืบค้นจาก https://www.duriannon.com/13771276/ประวัติทุเรียนนนท์.

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2562). จำนวนประชากร ในตำบลบางรักน้อย. สืบค้นจาก http://nonthaburi.kapook.com/เมืองนนทบุรี/บางรักน้อย.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2554). รู้จักเด็กทั้งตัว และหัวใจพัฒนาการของเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: เจี้ยฮั้ว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2562). ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางรักน้อย. สืบค้นจาก https://rdpb-2.appspot.com › download › บางรักน้อย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดศรีสะเกษ. (2562). คลังปัญญาผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.sisaket.m-society.go.th/?page_id=1245.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2. (2558). โครงการศึกษาการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์.

อรทัย อาจอ่ำ. (2553). แก่แล้วไม่มีคุณค่าจริงหรือ?: บทสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของผู้สูงอายุ. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุณยมานนท์ (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม: คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล(พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.