สำรวจองค์ความรู้ด้านไทยศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศรัสเซีย: กรณีศึกษางานวิจัยดุษฎีนิพนธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศรัสเซีย เพื่อศึกษาคุณลักษณะของดุษฎีนิพนธ์ วิเคราะห์แนวโน้มและช่องว่าง ตลอดจนทิศทางในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศรัสเซีย ผ่านการศึกษาดุษฎีนิพนธ์ ที่อยู่ในฐานข้อมูลหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ในสหพันธรัฐรัสเซีย (The Russian State Library) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-2562 ซึ่งมีดุษฎีนิพนธ์ด้านไทยศึกษา จำนวน 29 หัวข้อ จากการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะของดุษฎีนิพนธ์ มีเนื้อหาและสาขาวิชาความนิยมสูงสุดใน 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย และกลุ่มภาษาและวรรณกรรมไทย แหล่งผลิตดุษฎีนิพนธ์ส่วนใหญ่ คือ เมืองมอสโก สำหรับสัญชาติรัสเซีย ตีพิมพ์งานวิจัยด้านไทยศึกษามากที่สุด 2) ดุษฎีนิพนธ์ด้านไทยศึกษามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกช่วง โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศรัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในช่วงนี้ มีงานวิจัยด้านไทยศึกษากระจายไปยังนอกพื้นที่เมืองหลวงมากขึ้น 3) ช่องว่างและทิศทางการพัฒนางานวิจัยด้านไทยศึกษา ควรส่งเสริมงานวิจัยด้านไทยศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ของสาขามนุษยศาสตร์ให้รอบด้าน พร้อมทั้งควรผลักดันงานวิจัยด้านไทยศึกษา ให้สอดรับกับยุคปัจจุบันที่รายล้อมไปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขณะเดียวกันควรขยายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศรัสเซียให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น
Downloads
Article Details
References
จรัสศรี จิรภาส. (2562). ศึกษาไทยและไทยศึกษาในประเทศจีน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 38(1), 94-118.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ. (2541). สถานภาพไทยศึกษา: สำรวจเชิงวิพากษ์. สืบค้นจาก http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=PDG3810013
โชติหิรัญ เปี่ยมสมบูรณ์. (2553). ความเป็นมาของศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(1-2), 1-24.
ไพจิตร สดวกการ. (2539). ผลการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
รมย์ ภิรมนตรี. (2546). จากภาษารัสเซียถึงรัสเซียศึกษา: ความเป็นมาและความจำเป็น. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(2), 66-84.
วิไลวรรณ รุ่งเรืองรัตน์. (2542). สถานภาพทางการศึกษาสื่อมวลชนไทยโดยนักวิจัยชาวต่างประเทศ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สถานทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำราชอาณาจักรไทย. (2562). ความร่วมมือในขอบเขตของการศึกษา. สืบค้นจาก http://thailand.mid.ru/th/rus-thai-relations/edu-th
สถานทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำราชอาณาจักรไทย. (2562). วีซ่า. สืบค้นจาก http://thailand.mid. ru/th/consular-section/visa-th
สุจิตรา แสงวรรณธีระ, และกนิษฐา ชิตช่าง. (2559). ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย: ศึกษานักเรียนไทยที่ไปศึกษาในสหภาพโซเวียต. วารสารรัชต์ภาคย์, 10(19), 16-24.
สุทธานันท์ ชุนแจ่ม, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2554). การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), 412-429.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2560). ไทยศึกษากับการศึกษาคนไทและเพื่อนบ้าน. วารสารสังคมศาสตร์, 29(1), 229-252.
Bodner, G. M. (1986). Constructivism: A Theory of Knowledge. Journal of Chemical Education, 63, 873-877.
Nakamori, Y., Wierzbicki, AP., & Zhu, ZC. (2011). A theory of knowledge construction systems, Systems Research and Behavioral Science, 28, 15-39.
The Russian State Library (RSL). (2019). About the RSL. Retrieved from https://www.rsl.ru/en